Search
Close this search box.

ผู้ตรวจฯกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามการปฏิบัติราชการของส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

share to:

Facebook
Twitter

วันนี้ (8 มี.ค.67) ที่ห้องประชุมเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดน่าน นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16 ตรวจติดตามการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16

โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดน่านเข้าร่วมให้ข้อมูลและรายงานสรุปความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16 พ.ศ. 2566 รอบที่ 1

สำหรับจังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 7,170,045 ไร่ ซึ่งสภาพพื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นภูเขาถึงร้อยละ 87.2 ของพื้นที่ทั้งหมด มีที่ราบเพียงร้อยละ 12.8 ของพื้นที่ พื้นที่ของจังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสลับซับซ้อน มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จำแนกเป็น พื้นที่นา 309,509 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.43 ของพื้นที่เกษตร มีพื้นที่ปลูกพืชไร่ 678,728 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.49 ของพื้นที่เกษตร ผลไม้/พื้นที่ไม้ยืนต้น 397,814 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.54 ของพื้นที่เกษตร สวนผัก/ไม้ดอก/ไม้ประดับ 7,629 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของพื้นที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดน่าน (GPP) ประจำปี 2564 ณ ราคาประจำปี มีมูลค่า 35,674 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP percapita) ปี 2564 เท่ากับ 81,233 บาท มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตร เท่ากับ 10,466 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.34 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด สินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญด้านพืช ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปี ยางพารา มันสำปะหลัง ลำไย มะม่วง ลิ้นจี่ เงาะและกาแฟ ด้านปศุสัตว์ ได้แก่ โคเนื้อ สุกร และไก่ ด้านการประมง ได้แก่ปลานิล ปลาดุก และสินค้า GI ได้แก่ส้มสีทองน่าน

โดยหน่วยงานต่างๆได้รายงานสรุปผลการสรุปความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบที่ 1 (Aroject and Progress Review) โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ เช่นการดำเนินงานของศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร (ศูนย์พิรุณราช) การผลักดันสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง การส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นผู้ให้บริการทางการเกษตรครบวงจร การจัดการทรัพยากรทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG/Carbon Credit) การบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกร การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการพักชำระหนี้ การขับเคลื่อนและการขยายผลการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ การแก้ไขปัญหาการทำประมง การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และโครงการอื่นๆ โดยหลังจากรับฟังรายงานผลการดำเนินงานผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16 ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากนั้นในช่วงบ่ายคณะได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการในพื้นที่อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://nan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/267588