Search
Close this search box.

“ผีเสื้อกับความสำคัญต่อระบบนิเวศ และการดูแลรักษาให้ยั่งยืน”

share to:

Facebook
Twitter

หากพูดถึงการท่องเที่ยวเชิงศึกษาธรรมชาติ ถือว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจในช่วง 2-3 ปีมานี้เนื่องจากผู้คนได้หันมาสนใจเรื่องของธรรมชาติและรักษ์โลกกันมากขึ้น และแน่นอนว่าหนึ่งกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชิงศึกษาธรรมชาติที่หลายคนไม่พลาดก็คือการชมความสวยงามของผีเสื้อตามอุทยานต่างๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าในช่วงระยะ 1-2 ปีนี้ฤดูท่องเที่ยวผีเสื้อมาเร็วกว่าในอดีตรวมทั้งสิ่งมีชีวิตเล็กพวกนี้ได้ลดลงกว่าเมื่อก่อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI องค์กรชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม จึงขอเปิดเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผีเสื้อ จิ๊กซอว์ที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ มาฝาก

ผีเสื้อเป็นแมลงที่จัดอยู่ในอันดับ Lepidoptera โดยมีลักษณะสำคัญคือ ลำตัว ปีก ขา ที่ปกคลุมไปด้วยเกล็ด รวมถึงที่ปีกสองคู่ ลักษณะเป็นแผ่นบาง ผีเสื้อในโลกนี้มีมากถึง 200,000 ชนิด แบ่งออก 3 กลุ่มใหญ่ โดยแบ่งตามพฤติกรรมการหากินและรูปร่างลักษณะ คือ ผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) เป็นพวกออกหากินตอนกลางวัน มีลำตัวเพรียว ผีเสื้อกลางคืน (Moth) ออกหากินในเวลากลางคืน มีลำตัวขนาดใหญ่ และผีเสื้อบินเร็ว (Skippers) ส่วนใหญ่จะออกหากินตอนกลางคืน และบางชนิดหากินตอนเช้ามืด

ผีเสื้อมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ โดยเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นดัชนีวัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ อีกทั้งยังเป็น “ตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพ” เพราะผีเสื้อแต่ละชนิดมักมีแหล่งที่อยู่อาศัยและกินอาหารที่แตกต่างกัน เมื่อผีเสื้อตัวเมียถูกผสมพันธุ์จะวางไข่บนพืชที่เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อเท่านั้น เมื่อไข่ฝักออกมาเป็นตัวหนอน หนอนจะกัดกินพืชนั้นเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งกลายเป็นดักแด้ถึงจะหยุดกิน และพัฒนากลายเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัยซึ่งดูดน้ำหวานของดอกไม้เป็นอาหาร โดยมีบางชนิดกินผลไม้เน่า น้ำเลี้ยงต้นไม้ และมูลสัตว์เปียก เป็นต้น

 

ที่มาภาพและข้อมูล อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2783244

บทความที่เกี่ยวข้อง