หมดยุคทองปาล์มน้ำมัน พร้อมรับสถานการณ์ขาลง

share to:

Facebook
Twitter

ไทยผลิตปาล์มน้ำมันได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่มีปริมาณผลิตคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของปาล์มน้ำมันที่โลกผลิตได้ ทำให้ความเป็นไปของราคาขึ้นอยู่กับผู้เล่นรายใหญ่ คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

“ตั้งแต่ปี 2562 ราคาปาล์มน้ำมันดีดตัวสูงขึ้น ก่อนหน้านั้น ปี 2561 ชาวสวนปาล์มขายผลปาล์มทะลายได้รวมกัน 3 หมื่นล้านบาท และมาดีดตัวขึ้นไปที่ 5 หมื่นล้านในปี 2562, 7 หมื่นล้านในปี 2563, 1.1 แสนล้านในปี 2564 และขึ้นสู่ยุคทองในปี 2565 ที่ชาวสวนปาล์มมีรายได้จากปาล์มน้ำมันสูงถึง 1.47 แสนล้าน”

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่าถึงความเป็นมาของยุคทองปาล์มน้ำมัน เนื่องจากช่วงเวลานั้น คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ได้บริหารจัดการให้ราคาผลปาล์มเคลื่อนไหวในทางที่เกิดประโยชน์ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ด้วยการควบคุมสต๊อกเพิ่มการใช้ไบโอดีเซล และผลักดันผลการผลิตส่วนเกินออกไปยังอินเดีย ถ้ายังพอจำได้ถึงเหตุที่ราคาปาล์มน้ำมันพุ่งขึ้นสูงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบ 20 ปี นั่นเพราะ 1.การระบาดของโควิด-19 ทำให้มาเลเซียตัดสินใจผลักดันแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ และฉวยโอกาสต่อการใช้แรงงานต่างชาติ เมื่อปี 2562 ทำให้ขาดแรงงานในการตัดปาล์ม ตั้งแต่นั้นราคาปาล์มเริ่มทะยานขึ้น

แหล่งที่มาภาพและข้อมูล/อ่านเพิ่มเติม:https://www.thairath.co.th/news/local/2788535