Search
Close this search box.

ถอดโมเดลพลิกโฉมประเทศไทย พัฒนาสู่ความยั่งยืนด้วยแนวคิด ESG

share to:

Facebook
Twitter

#บลจ.ยูโอบี #ทันหุ้น การก้าวเดินบนเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องการจะทำให้สำเร็จในระยะยาว เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ได้มีการลงนามตามกรอบความร่วมมือในระดับนานาชาติ ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน UN’s 2015 Sustainable Development Goals: SDGs ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาที่ทั่วโลกดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2016 ไปจนถึงปี 2030 ครอบคลุมทั้งหมด 17 เป้าหมายหลัก (Goals)

เปิดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยสู่ความยั่งยืน SDGs 2030
ล่าสุดในปี 2566 ที่ “เศรษฐา ทวีสิน”เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) บนเวทีการประชุมผู้นำโลก UN General Assembly ครั้งที่ 78 (UNGA78) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พร้อมย้ำเจตนารมณ์ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave no one behind) ซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้ทศวรรษนี้เป็นทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action)

สำหรับนโยบายด้าน ESG ที่นายกรัฐมนตรีมองว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม นั้นต้องสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ที่เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม 3 ด้านไปพร้อมกัน ได้แก่

 

  • ด้านที่ 1 เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) คือการมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืชพันธุ์ ป่าไม้ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ โดยเน้นนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
  • ด้านที่ 2 เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า และสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
  • ด้านที่ 3 เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ สามารถแข่งขันในระดับโลกด้วยนวัตกรรม

 

สำหรับแนวทางที่ประเทศไทยจะดำเนินการอย่างชัดเจนในช่วงแรก มีดังนี้

1. มุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave no one behind) ด้วยการช่วยเหลือกลุ่มที่รั้งท้ายก่อน (reaching those furthest behind first) ทั้งนี้ นิยามกลุ่มรั้งท้ายในบริบท SDGs ของประเทศไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้มีรายได้น้อย, ไม่มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำสะอาด, ขาดหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี, ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และไม่สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เป็นต้น โดยในช่วงเริ่มต้นประเทศไทยตั้งเป้าหมายจะลดความยากจนในคนทุกช่วงวัยภายในปี 2570

 

2. มุ่งมั่นส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศสำหรับประชากรทุกคนในประเทศ รวมถึงให้ความสำคัญกับสิทธิด้านสุขภาพ ซึ่งมีมาตรการที่สำคัญ คือการตั้งเป้าหมายลดความยากจนของครัวเรือนที่เกิดขึ้นจากรายจ่ายค่ารักษาพยาบาล (Health impoverishment) ให้มีจำนวนลดลงไม่เกิน 0.25% ภายในปี 2570หรือพูดง่าย ๆ ว่าคนไทยจะต้องไม่เกิดปัญหาทางการเงินจากรายจ่ายด้านสุขภาพ ด้วยการเพิ่มสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะการเจ็บป่วยแต่ละครั้งนั้นมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายมหาศาล ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าอาหารเสริม ค่าที่พัก ค่าเดินทาง และมีแนวโน้มเพิ่มที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะสูงขึ้นทุกปี

 

3. มุ่งมั่นที่จะผลักดันความร่วมมือในทุกระดับ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่ (Modern energy services) ในราคาที่เหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือ ภายในปี2573โดยคำจำกัดความของ Modern energy services หมายถึงบริการที่ผู้คนสามารถเข้าถึงไฟฟ้าและเชื้อเพลิงหุงต้มที่มีประสิทธิภาพ สะอาด ปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือน ตัวอย่างเช่น ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้านพักอาศัย และก๊าซธรรมชาติที่ใช้กับเตาสมัยใหม่สำหรับประกอบอาหาร เป็นต้น ในทางตรงกันกับข้ามแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม เช่น ฟืน, ถ่านไม้, แกลบ และชานอ้อย เป็นต้น

 

แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://thunhoon.com/article/301659