Search
Close this search box.

อว.หนุนปั้น’ลำปางโมเดล’สู่ต้นแบบการพัฒนา บนฐานภูมิสังคมและวัฒนธรรม

share to:

Facebook
Twitter

 

 

 

คณะผู้ทรงคุณวุฒิจาก กสว.-สกสว.-สำนักงบประมาณ ประทับใจ “โครงการวิจัยการพัฒนาเมืองลำปาง สู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิสังคมและวัฒนธรรม สู่กระบวนการสร้างแบรนด์อัตลักษณ์ใหม่ของเมือง กับกระบวนการบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนและการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านการส่งเสริมการจัดการตลาด” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มั่นใจช่วยสร้างความมั่งคั่ง-มั่นคง-ยั่งยืนแก่ประชาชนในพื้นที่ และทำให้ลำปางเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ น่าอยู่ ยั่งยืน

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) กล่าวแสดงความชื่นชมงานวิจัย “การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม สู่กระบวนการสร้างแบรนด์อัตลักษณ์ใหม่ของเมือง กับกระบวนการการบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชน และการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน” ที่มีการเชื่อมโยงพลังของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการวิจัย ในโอกาสนำคณะซึ่งประกอบ ด้วย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) และนางวีณา บรรเลงจิต นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ สำนักงบประมาณ ลงพื้นที่จังหวัดลำปาง ตรวจติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ภายใต้การการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)

“งานวิจัยที่ลำปางเห็นชัดเจนได้ว่า เป็นการสืบสานต่อยอดจากฐานทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม โดยเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นทิศทางการทำงานวิจัยที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่เรื่องของการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน รวมทั้งดูแลทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโตขึ้น”

โครงการวิจัย ทำให้เกิดกลไกเครือข่ายการเรียนรู้ในการพัฒนาเมืองที่เข้มแข็งของคนในพื้นที่และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ รวม 35 เครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดลำปาง สู่ความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ น่าอยู่ ยั่งยืน ทำให้เกิดนวัตกรชุมชนมากกว่า 188 คน ทำให้เกิดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Bio Circular and Green-BCG) จำนวน 17 เทคโนโลยี ทำให้เกิดเทคโนโลยีการสร้างห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง จำนวน 23 เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ จำนวน 60 เทคโนโลยี ส่งผลให้นวัตกรชุมชนสามารถสร้างรายได้แก่ชุมชนจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

 

 

 

เเหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thaipost.net/news-update/653937/