Search
Close this search box.

นาโนเทค สวทช. ผลักดันนวัตกรรมสารสกัดกระชายดำ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

share to:

Facebook
Twitter

 

 

 

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ต่อยอด “สารสกัดกระชายดำ” สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมจับมือ SNPS หรือบริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ลงนามอนุญาตให้สิทธิใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย ร่วมขับเคลื่อนงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมกลุ่ม Active ingredients ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง-เสริมอาหาร รับความต้องการตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของโลก หนุนโมเดลเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยกลไก S&T for Sustainable Thailand ของ สวทช.

ดร. อุดม อัศวาภิรมย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน นาโนเทค สวทช.

กล่าวว่า นวัตกรรมการผลิตสารสกัดเพิ่มมูลค่าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงามอย่างยั่งยืน เป็น 1 ใน BCG Implementation ของ สวทช. เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงามอย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรโดยมีสมุนไพรนำร่อง 3 ชนิดได้แก่ กระชายดำ บัวบก และกะเพรา ตอบโจทย์เกษตรกรผู้ปลูก เอกชนผู้ผลิต-จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และผลักดันให้เกิด “Hub of Thai Herbal Extract” ในการส่งเสริมพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและคว้าโอกาสตลาดสมุนไพรให้กับประเทศอย่างยั่งยืนกระชายดำ (Kaempferia parviflora) ถูกนำมาเป็นยาบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะทำให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อย และอาการเหนื่อยล้า และยังมีฤทธิ์ทางเภสัชกรรมมากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สมานแผลในกระเพาะอาหาร ขยายหลอดเลือดและต้านจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และยังเพิ่มการไหลเวียนในโลหิตได้ด้วย การเติบโตจากแนวโน้มของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จึงนำมาสู่แนวคิดในการวิจัยพัฒนาสารสกัดกระชายดำมาตรฐาน (Standardized Extract) รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับสุขภาพ เพื่อการยับยั้งกระบวนการแก่ของเซลล์ (anti-aging) เพื่อการผลักดันเป็น Thailand herbal champion อย่างเป็นรูปธรรม

การขยายตลาด B GOLDTM ไปในต่างประเทศ ทำให้จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยให้ก้าวสู่ระดับสากล ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากกระชายดำ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรไทย โดยนักวิจัยไทย ถือว่า สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ BCG ของประเทศ ที่เน้นถึงการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติคุณภาพสูง

 

แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://mgronline.com/science/detail/9670000081697