“อธิบดีดีพร้อม” ต้อนรับ “นายกฯ แพทองธาร” ชมผลิตภัณฑ์สุดปังจากดีพร้อม โชว์ไผ่และเครื่องเขินไทย ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่น ดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล

share to:

Facebook
Twitter

 

 

“อธิบดีดีพร้อม” ต้อนรับ “นายกฯ แพทองธาร” ชมผลิตภัณฑ์สุดปังจากดีพร้อม โชว์ไผ่และเครื่องเขินไทย ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่น ดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล ตามนโยบาย “รมต.เอกนัฏ”

จ.เชียงใหม่ 30 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเยี่ยมชมการดำเนินโครงการและกิจกรรมของดีพร้อมในการลงพื้นที่คณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

การลงพื้นที่ดังกล่าง นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แนะนำการดำเนินโครงการและกิจกรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ผ่านจัดแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ (DIPROM Bamboo City Center) และศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ (DIPROM Northern Lacquerware Center) ตามแนวทาง BCG มุ่งเน้นการสร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ไผ่และเครื่องเขิน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ออกแบบผสมผสานความร่วมสมัย คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาของภาคเหนือ เช่น โคมไฟ ชุดเฟอร์นิเจอร์ ของใช้จากไผ่ กระเป๋า ชุดจิบชา และชุดเก้าอี้จากงานเครื่องเขิน ด้วยการการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก โดยการพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ

1) สร้างสรรค์และต่อยอด

2) โน้มน้าว

3) เผยแพร่ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ชูการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร โดยการ “สร้างสรรค์” วัตถุดิบล้านนาสู่สินค้ามูลค่าสูง วัตถุดิบ Local สู่ทางเลือกสุขภาพ สมุนไพร Local สู่สารสกัดเลอค่า และ Hyper Local Taste รสชาติท้องถิ่นที่กินสะดวก “โน้มน้าว” ให้มาสัมผัสวิถีล้านนา และ “เผยแพร่” ผ่าน Influencer ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA

 

แหล่งที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/90854