ชื่อโครงการ | ผลลัพธ์/ผลกระทบ |
1. ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย | เครื่องมือแพทย์สามารถขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยได้จำนวน 10 รายการ นำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย |
2. การผลิตยาต้านไวรัส | ผลิตสารสำคัญในการผลิตยารักษาโรคโควิด-19 (Favipiravir) ได้เองครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตสารสำคัญของยาประเภทอื่นๆ ได้ในอนาคต |
3. การพัฒนาสารสกัดกระชายดำมาตรฐาน | พัฒนามาตรฐานและข้อมูลความปลอดภัยของสารสกัดและสารออกฤทธิ์กระชายดำเพื่อการขึ้นทะเบียนสารออกฤทธิ์ทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมอาหารฟังก์ชั่น เครื่องสำอาง ยา รวมทั้ง เป็นการวางรากฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรของไทยชนิดอื่นๆ ในอนาคต |
4. ผลิตภัณฑ์นมโคเกรดพรีเมียม | พัฒนาน้ำนมดิบให้เป็นแพลตฟอร์ม (Platform) สำหรับการเติมสารฟังก์ชั่น เช่น DHA เพื่อให้น้ำนมดิบเป็นน้ำนมเกรดพรีเมียม ยกระดับคุณภาพนมโรงเรียน |
5. บูรณาการยกระดับสตรีทฟู้ด (Street Food) ไทย | ขยายผลนำเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับสตรีทฟู้ดเพื่อยกระดับอาหารปลอดภัย ลดปัญหามลพิษทั้งควันและน้ำทิ้ง ลดปัญหาสุขภาพของผู้บริโภค และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยว |
6. ยกระดับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านและเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmers) | พัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวคูณการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบเกษตรสมัยใหม่ |
7. การยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวหลังโควิด | เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ 40 ผลิตภัณฑ์ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก |
8. การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนในชุมชน | พัฒนาต้นแบบการผลิต จำหน่าย และใช้ไฟฟ้าในชุมชนเองเพื่อนำไปสู่การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การพึ่งตนเอง และการสร้างรายได้ในชุมชนจากพลังงานทดแทน |
9. การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจากความหลากหลายทางชีวภาพ | พัฒนาต้นแบบการจัดการป่าชายเลนเพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ของชุมชน SMEs นำไปสู่การขยายผล |
10. การกำหนดราคาคาร์บอน | พัฒนาหลักเกณฑ์การจัดสรรแบ่งคาร์บอนเครดิตแก่ผู้ลงทุนปลูกป่าในพื้นที่ของรัฐเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนปลูกป่าอนุรักษ์และสร้างแหล่งกักเก็บคาร์บอนในที่ดินของรัฐ |
11. Green Industry สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร | ของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตอาหารได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมรวมถึงนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว |
12. การสร้างความรับรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่อง BCG | เกิดการรับรู้และการตระหนักรู้ในกลุ่มจตุภาคีในวงกว้าง เพื่อให้ทุกภาคส่วนเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างเป็นรูปธรรม |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)