กฎหมาย
และระเบียบ
ข้อเสนอเพื่อการดำเนินงาน
(Action Agenda)
1
การปลดล็อคกฎหมาย กฎระเบียบ
และการกำหนดมาตรฐาน
ปลดล็อคกฎหมายเดิม
- อนุญาตให้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรม
- ให้ผังเมืองเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ การสร้างไบโอรีไฟเนอรี่ และธุรกิจรีไซเคิล
- อนุญาตให้สามารถขนส่งของเหลือมาเป็นวัตถุดิบในโรงงานได้โดยสะดวก
- การขออนุญาตผลิตและขึ้นทะเบียนอาหารและอาหารสัตว์
- ปรับปรุงนิยาม “พันธุ์พืชพื้นเมือง” ใน พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อให้เอื้อต่อการปรับปรุงพันธุ์
- ให้การรับซื้อไฟฟ้าชีวมวลเอื้อต่อการขายไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก
- การบังคับใช้กฎหมายห้ามทิ้งขยะและของเสียอุตสาหกรรมสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
- การบังคับใช้กฎหมายห้ามทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างเคร่งครัด
เร่งผลักดันกฎหมายใหม่
- การส่งเสริมการใช้และควบคุมกำกับการปลดปล่อยของเสียจากโรงงานที่ใช้จีเอ็ม
- การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- การกำกับดูแลรักษาด้วยเซลล์บำบัดที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนา และการนำวิธีการรักษาไปให้บริการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
กำหนดมาตรฐานและการรับรองคุณภาพด้าน BCG ที่ชัดเจน
- ฉลากผลิตภัณฑ์จากเศรษฐกิจชีวภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจากผลงานวิจัยในประเทศ
- มาตรฐานการรี่ไซเคิลและการออกแบบสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิล
- มาตรฐานบรรจุภัณฑ์มูลค่สูงจากพลาสติกรีไซเคิลสำหรับบรรจุเครื่องดื่มและอาหาร
- ระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อป้องกันการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
- กำหนดคุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพ B100 ให้ได้มาตรฐานสากล
- ฉลากผลิตภัณฑ์ ข้อมูล วิธีการจัดการรีไซเคิลตามประเภทวัสดุ
2
มาตราการจูงใจ
การสนับสนุนทางการเงิน
- กองทุนพัฒนา Smart Farmer
- สนับสนุนผู้ประกอบการด้าน BCG รายใหม่ เช่น ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ โดยเฉพาะผู้ประกอบการแปรรูปพลาสติกรายย่อย วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการที่เชื่อมโยงการนำขยะไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดการสร้างคุณค่าเพิ่มเติม
- สนับสนุนกิจการแปรรูปขยะด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง หรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย
- อุดหนุนการต่อยอดหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศผ่านการอนุญาตใช้สิทธิเทคโนโลยี หรือการลงทุนร่วม เพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- ยกเว้นภาษีแก่ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานวิจัยด้าน BCG
- ลดภาษีการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการวิจัย พัฒนา และการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย
- ใช้ประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
สร้างตลาด BCG
- ใช้มาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Procurement Privilege) สำหรับผลิตภัณฑ์ BCG
- ขยายตลาดไปสู่กลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ตลาดยาชีววัตถุและวัคซีน
- สนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ B10 และสนับสนุนการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพมูลค่าสูง
- ผลักดันให้แหล่งท่องเที่ยวของไทยได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวโดยองค์กรสากล