Search
Close this search box.

‘ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต’ จาก ‘เปลือกหอย’

share to:

Facebook
Twitter

 

‘เปลือกหอย’ เป็นปัญหาขยะจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอาหาร เพราะการกำจัดต้องใช้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมาก แต่รู้หรือไม่ว่าร้อยละ 95 ของเปลือกหอยมีสารแคลเซียมคาร์บอเนตที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายอุตสาหกรรม นักวิจัยนาโนเทค สวทช. จึงพัฒนากระบวนการแปรรูปเปลือกหอยขยะในอุตสาหกรรมให้เป็นสารไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต (Bio-calcium carbonate, CaCO3) ที่มีรูปทรงเฉพาะเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเวชสำอาง พลาสติก และกระดาษ ด้วยกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำและไม่ก่อให้เกิดของเสีย โดยการทำวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ทั้งนี้ปัจจุบันทีมวิจัยกำลังเร่งศึกษาวิจัยวิธีการขยายผลการใช้ประโยชน์จาก ‘สาร CaCO3 จากเปลือกหอย’ โดยมีเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอดแล้วคือ การนำสาร CaCO3 ไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สครับผิวและผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน และมีอีก 2 งานที่อยู่ในช่วงการวิจัยและพัฒนาคือการนำสาร CaCO3 ไปใช้กับผลิตภัณฑ์พลาสติกใสและสารเคลือบกระดาษ

รายละเอียดเพิ่มเติม: แปรรูป ‘เปลือกหอย’ ขยะอุตสาหกรรม สู่ ‘สารสำคัญเวชสำอาง พลาสติก กระดาษ’