Search
Close this search box.

ส่งต่อแรงบันดาลใจ เปลี่ยนขยะเหลือใช้ ให้เป็นงานศิลป์สุดยูนีค

share to:

Facebook
Twitter

ทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น กำลังส่งผลให้ปริมาณ ‘ขยะเหลือใช้’ พอกพูนไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ รายงานสถานการณ์ขยะในประเทศไทยประจำปี 2566 ระบุว่า ประเทศไทยสร้างขยะมูลฝอยเกิดขึ้น ประมาณ 26.95 ล้านตันต่อปี หรือราว 73,840 ตันต่อวัน คิดเป็นเฉลี่ย 1.12 กิโลกรัมต่อวันต่อคน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 ที่มีปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ที่ 25.70 ล้านตัน พบว่าเราสร้างมลภาวะเพิ่มขึ้นถึง 5% ต่อปี

ขยะเหลือใช้ หรือขยะที่ถูกทิ้งให้หมดประโยชน์ ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับชุมชนและประเทศ ดังนั้น ก่อนที่ ‘ปัญหาขยะ’ จะก่อตัวเป็นภัยคุกคามอันร้ายแรงและกัดกินการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะสัตว์ พืช หรือมนุษย์เรา ไปเรื่อยๆ ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญและร่วมมือกันแก้ไขให้ได้โดยเร็วที่สุด

กิจกรรม ‘IONIQ Waste to Wonder’ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ของกระบวนการรีไซเคิล ที่ผนวกเข้ากับงานศิลป์ ตั้งแต่การสร้าง ‘หมีขนม’ ที่ประดิษฐ์จากขวดพลาสติก 10,000 ขวด และบรรจุภัณฑ์ขนม 10,500 ชิ้น ไปจนถึงกิจกรรมเวิร์คช็อป ‘The Art of Upcycling’ การประดิษฐ์ของจากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งเป็นการส่งต่อแนวคิดหลักของกิจกรรมที่ว่า ‘ไม่มีสิ่งใดไร้ค่า’ และ ‘เราทุกคนทำได้’ นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในช่วง IONIQ Talk สร้างแรงบันดาลใจ การตระหนักรู้ และกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ เพื่อสร้างสรรค์โลกที่สะอาดและยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไปพร้อมกับการแสวงหาแนวทางใหม่ ในการจัดการขยะต่อไปในอนาคต

‘ดร.ฉัตรตรี ภูรัต’ ผู้อำนวยการฝ่ายฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่ได้กล่าวว่า ความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลก, สร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่ความรับผิดชอบของทั้งผู้ผลิตและบริโภค, การผลักดันนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, นโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy), ESG (Environment, Social, Governance) และการเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กรและบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมรับมือกับความท้าท้ายในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรอีกหลายฝ่าย ซึ่งไม่เพียงร่วมกันกำหนดนโยบายเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยกันปูทางไปสู่ความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเมืองไทยต่อไป

 

 

แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3817926/

บทความที่เกี่ยวข้อง