งานวิจัย ‘เห็ดออกฤทธิ์เชิงยา’ และเพิ่มมูลค่าอาหารด้วย ‘โมเดล BCG’

share to:

Facebook
Twitter

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.วิไล รังสาดทอง และคณะ นำเสนองานวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพของ ‘เห็ดออกฤทธิ์เชิงยา’ และการเพิ่มมูลค่าเพื่อผลิตอาหาร ด้วย ‘โมเดล BCGไม่เหลือขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม

ศาสตราจารย์ ดร.วิไล รังสาดทอง อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และคณะ นำเสนอ งานวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพของ เห็ดออกฤทธิ์เชิงยา เพราะเห็ดกินได้หลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีสารออกฤทธิ์เชิงยาหลายชนิด เช่น สารแอนตี้ออกซิแดนท์ สารต้านการอักเสบ สารช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ สารต้านมะเร็ง เป็นต้น

  • เห็ดหัวลิงหรือเห็ดยามาบูชิตาเกะ มีสรรพคุณต้านโรคอัลไซเมอร์ เรามีงานวิจัยอ้างอิงสารสกัดจากเห็ดชนิดนี้ในด้านสรรพคุณทางยา อีกทั้งการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วย โมเดล BCG (ฺBioeconomy, Circular Economy, Green Economy)

แล็บเราทำงานร่วมกับเอกชนมานาน และเป็นงานวิจัยด้าน BCG – Bio Circular Green เพราะตอนนี้โจทย์นี้มาแล้ว ต้องเป็นงานวิจัยที่รักษาสิ่งแวดล้อมด้วย เราก็อยากให้นักศึกษาได้ทุนและได้ทำโจทย์กับของจริง

งานวิจัยเน้นโมเดล BCG ดร.วิไล อธิบายว่า

เห็ดหลินจือ หัวเชื้อที่ใช้เพาะเห็ดเหลือไม่ทิ้ง เอาไปทำกระดาษ ทำปุ๋ยน้ำ วิธีสกัดใช้สารที่เป็นธรรมชาติแล้วมาตรึงสารที่ดี ๆ ไว้ เห็ดบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับเบาหวาน พอตรึงมาแล้วเป็นไฮโดรเจลสามารถใช้เป็นพลาสเตอร์ปิดแผลที่ละลายได้ ในบางงานทำเป็นนาโนไฟเบอร์ที่บางมาก ใช้เทคโนโลยีในห้องแล็บตรึงเอาสารที่ออกฤทธิ์ไว้ข้างใน สามารถใช้แปะในปากเพื่อช่วยให้ซึมเข้าไปเร็ว ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส สำหรับคนเป็นเบาหวาน

  • เห็ดเยื่อไผ่ มีฤทธิ์ทางยา เห็ดก่อนจะแตกชูช่อออกมาเป็นตาข่ายที่เขาเอามาปรุงอาหารทำซุปเยื่อไผ่ ก่อนจะแตกจะเป็นวุ้น ภายในวุ้นมีสารออกฤทธิ์ที่เรียกว่า ไฮยารูรอนิค แอสิด ที่ดีต่อผิว เราทำงานเรื่องข้อมูลกับวิสาหกิจชุมชนซึ่งทำเครื่องสำอางแล้ว ในการแชร์ข้อมูลการวิเคราะห์ให้ อันนี้จำหน่ายจริงแล้ว
  • เห็ดหลินจือ เอามาทำยาและอาหารเสริม อยู่แล้ว ก้อนที่ใช้เพาะเลี้ยงเห็ดก่อนจะทิ้งไปยังหลงเหลือเส้นใยของเชื้อเห็ดอยู่ เราเอาสกัดทำปุ๋ยน้ำไว้ฉีดต้นผักเคล ปรากฏว่าเร่งการเจริญเติบโตดี นอกจากเอาเศษก้อนไปสกัดแล้วยังเอาไปทำกระดาษ กระถางต้นไม้ได้อีก เป็น โมเดล BCG จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ

 

แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1147022