“Reinventing University เป็นโครงการที่เราทำต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว วัตถุประสงค์หลักคือต้องการปฏิรูปมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ โดยใช้กลไกการพัฒนากำลังคนขั้นสูงเฉพาะทางตามกลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก กลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม กลุ่มที่ 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น กลุ่มที่ 4 กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา และ กลุ่มที่ 5 กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาในแต่ละกลุ่มสามารถสร้างความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญ และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาผ่านกลไกการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริงเพื่อสร้างความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
“อย่างกลุ่มแรกเรามุ่งไปที่การผลิตกำลังคนระดับปริญญาเอก รองรับอุตสาหกรรมขั้นสูง เช่น ยานอวกาศ การแพทย์ขั้นสูง ในขณะที่กลุ่มที่ 2 จะเน้นเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของประเทศ คือกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น การพัฒนากำลังคนด้าน AI จะสนับสนุนเรื่องของ AI Literacy, AI Competency และ AI Ethics and Responsibility”
สำหรับโครงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Sandbox) ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ บอกว่าจะเป็นโครงการที่เข้ามาปลดล็อกข้อจำกัดในการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษาผ่านการจัดทำหลักสูตรที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)
“เราตั้งเป้าผลิตกำลังคนที่ตรงต่อความต้องการของประเทศในด้านต่างๆ กว่า 20,000 คน ใน 11 สาขา ได้แก่ กำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ในระดับผู้ประกอบโรคศิลป์, กำลังคนที่มีความรู้ Frontier Knowledge ด้านเทคโนโลยี, กำลังคนด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล, กำลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม, วิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant), บัณฑิตด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า, บัณฑิตผู้ประกอบการตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG), ผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมเวลเนส, วิศวกรบูรณาการระบบ (System Integrator) และผู้บริหารระดับต้นและระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม”
แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://thestandard.co/didacta-asia-congress-2024/