​เลขาฯ ลอรี่ ปาฐกถางานท่องเที่ยวอันดามัน ใช้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไทย

share to:

Facebook
Twitter

 

 

​เลขาฯ ลอรี่ ปาฐกถางานท่องเที่ยวอันดามัน ใช้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไทย

วันที่ 8 ธันวาคม 2567 นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน Andaman Tourism Networking 2024 พร้อมกล่าวปาฐกถาหัวข้อ” บทบาทสําคัญในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย” โดยมี นางวิรินทร์ตรา ปภากิจยศพัฒน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คลัสเตอร์อันดามันและประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต นายกสมาคมผู้ประกอบการ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดอันดามัน 6 จังหวัด (พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง และภูเก็ต) ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นางเฉลิมศรี หลักดี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วม ณ พื้นที่สวนสาธารณะปลายแหลมสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต

กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เห็นโอกาส ในการส่งเสริมความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมการผลิตสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วนไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากในห่วงโซ่คุณค่า ของการท่องเที่ยวมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถเข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุนได้ เช่น ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ผลิตของที่ระลึก ยกตัวอย่างเช่น วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านบ่อแร่ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในพื้นที่ ทำผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้า และของที่ระลึกจำหน่าย ที่พิเศษไปกว่านั้น คือการนำวัสดุเหลือใช้จากเศษผ้า เกล็ดปลา นำมาประดิษฐ์เป็นของที่ระลึกได้อย่างสวยงาม ซึ่งนอกจากเป็นการลดขยะได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นการสร้างอัตตลักษณ์ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปร่วมทำกิจกรรมในท้องถิ่น ตลอดจนอุตสาหกรรมดิจิทัลข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบ อัตโนมัติและหุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ นําไปประยุกต์ใช้ได้กับบริการที่พัก เช่น โรงแรม และบริการสนับสนุน เช่น ร้านซักรีด โดยขับเคลื่อนการดําเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ที่ท่านคุ้นเคย และสอดคล้อง กับ 1 การปฏิรูปของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

แหล่งที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/91216