ใช้ซังข้าวโพดทำถ่านดูดกลิ่น “ศรีบุญเรือง ถ่านชาร์โคล” ใช้ง่าย ใช้ได้นานฝีมือชาวบ้านที่น่าน

share to:

Facebook
Twitter

 

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยงานวิจัย และพร้อมในการให้คำแนะนำ ให้การช่วยเหลือในเรื่องของการรวมกลุ่ม การจัดตั้งสหกรณ์ จดวิสาหกิจชุมชน รวมถึงการสนับสนุนการทำวิจัยจากภูมิปัญญาในชุมชน โดยได้มีกลุ่มสมาชิกชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน เป็นตัวอย่าง

สมาชิกชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเกษตรกรจะจำหน่ายในรูปของเมล็ดข้าวโพด ทำให้ซังข้าวโพดที่เหลือจากการสีกะเทาะเอาเมล็ดออกแล้ว ถูกนำไปทิ้งหรือเผาไปโดยสูญเปล่า ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันและมลภาวะเป็นพิษ

นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์ “ถ่านดูดกลิ่น” จากซังข้าวโพดบ้านศรีบุญเรือง ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบ “โครงการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อยและขนาดย่อมในกลุ่ม BCG Economy ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา” โดยผ่านการเข้ารอบ 1 ใน 20 ผลิตภัณฑ์สุดท้ายจาก 102 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งประกวดทั่วประเทศ และสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่(BCG Model)

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นของสมาชิกชุมชนบ้านศรีบุญเรืองนั้น มีความโดดเด่น เป็นการนำซังข้าวโพดที่เหลือจากการสีกะเทาะเอาเมล็ดออกแล้ว จากเดิมจะทิ้งหรือเผา นำมาเพิ่มมูลค่าเป็นถ่านดูดกลิ่น (Zero waste) โดที่สมาชิกกลุ่มใส่ใจการผลิตทุกขั้นตอน ผสมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน (Hand-Made) ตั้งแต่กระบวนการเผาซังข้าวโพด จนถึงการบรรจุเพื่อเตรียมจำหน่าย

 

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://kasettumkin.com/tumkin/article_57887