ธ.ก.ส. คว้า 4 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2567

share to:

Facebook
Twitter

 

 

วันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2568) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2567 (SOE Awards) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ภายใต้แนวคิด “Beyond Pride, Towards Sustainability” ซึ่งในปีนี้ ธ.ก.ส. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลบริหารจัดการองค์กรดีเด่น รางวัลการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น รางวัลบริการดีเด่น และรางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีนายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยนายเสกสรรค์ จันทร์ขวาง นายยุวพล วัตถุ นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล
นายเชษฐา แหล่ป้อง นายเกรียงไกร กัลหะรัตน์ นายไพศาล หงษ์ทอง และนายทองคำ เกตุโชติ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เข้ารับรางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นทั้ง 4 รางวัล ที่ ธ.ก.ส. ได้รับในครั้งนี้ นับเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ธ.ก.ส. เป็นอย่างยิ่ง และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของ ธ.ก.ส. ในการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่การเป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” ควบคู่กับการปรับองค์กรสู่ “แกนกลางการเกษตร (Essence of Agriculture)” นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการลูกค้า อาทิ การเปิดระบบยืนยันตัวตนให้กับลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล โดยใช้บัตรประชาชนในการตรวจสอบข้อมูลและสอบทานการประเมินศักยภาพในการชำระหนี้ อันนำไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์ของ ธ.ก.ส. ทั้งในมิติ “ธนาคารที่ยั่งยืน” และ “การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” ที่พร้อมสนับสนุนเกษตรกรในการยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติอย่างยั่งยืน ซึ่งรางวัลที่ ธ.ก.ส. ได้รับในครั้งนี้

เป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) โดยคำนึงถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG (Environmental Social and Governance) ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ควบคู่กับการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้โมเดลธุรกิจ BCG เพื่อสร้างผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดี พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อันนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้องค์กร

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/baac-7/