APEC 2022 ฝ่าความท้าทาย ไทยชูธง Bangkok Goals on BCG

share to:

Facebook
Twitter

นับถอยหลังอีกเพียงเดือนกว่า ๆ ก็จะเข้าสู่การประชุม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) หรือ APEC 2022 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 พ.ย.นี้ ภายใต้แนวคิด “Open Connect Balance” โดยไฮไลต์สำคัญของเวทีประชุม ผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ก็คือ การประกาศเป้าหมายกรุงเทพ หรือ Bangkok Goals on BCG Economy ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 2565

ล่าสุด “ประชาชาติธุรกิจ” ได้อัพเดตความคืบหน้าของการเป็นเจ้าภาพประชุมจาก นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังจากที่ได้ฝ่าฟันความยากลำบากในการเตรียมการจัดประชุมนับตั้งแต่ปี 2012 (2555) ที่ไทยได้รับไม้ต่อเจ้าภาพเอเปคมาตั้งแต่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือเป็นเวลา 20 ปี จนถึงขณะนี้ประเทศไทยได้รับการตอบรับจากผู้นำ 9 เขตเศรษฐกิจ จากทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ และมั่นใจว่า สมาชิกทั้งหมดจะตอบรับเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมหน้ากัน

Theme ของ APEC รอบนี้

ประเทศไทยห่างหายการจัดประชุม APEC ไป 20 ปี คงต้องเคาะสนิมกันอย่างมาก ทั้งยังต้องพบกับสถานการณ์ความท้าทายต่าง ๆ มากมาย อาทิ สงครามการค้า ทำให้การเตรียมพร้อมการประชุม APEC ได้เริ่มขึ้นจริง ๆ ประมาณ 3 ปี หรือก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตอนนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) หารือกันว่า จะมีการรื้อฟื้นสปิริตของ APEC ภายหลังจากที่เกิดภาวะชะงักงัน ภาวะโควิด-19 ซึ่งตอนแรกประเมินว่าจะดีขึ้นใน 1 ปี แต่ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด แต่ก็ได้เริ่มต้นเตรียมการกันมา

จนในที่สุดการประชุม APEC ครั้งนี้จึงได้ theme 3 คำ คือ “open” การเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ connect เชื่อมโยงกัน และ balance สู่สมดุล โดยเป้าหมายของแต่ละคำเริ่มจากคำว่า open คือ การเปิดกว้างเสรีทางการค้า หรือ FTA ซึ่งในอดีตการทำ FTA Gen 1 จะเน้นการเปิดตลาด ลดภาษีสินค้า แต่ต่อมาการทำ FTA Gen 2 จะเน้นเรื่องการ “ยกระดับมาตรฐานความตกลง” อย่างเช่น การเจรจา CPTPP ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นความตกลงที่มีมาตรฐานสูงมาก

แต่ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่การเจรจา “FTA Gen 3” อย่าง FTAAP ซึ่งเพิ่มประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากโควิด-19 อาทิ การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (digitallization) ความยั่งยืน (sustainable) การรวมทุกคนไว้ (inclusion) การเจรจาเจนนี้จะไม่ใช่การเจรจาเพื่อประโยชน์ให้กับบริษัทใหญ่ที่ผลิตสินค้า แต่มองถึงชุมชนหรือคนกลุ่มน้อยในสังคมว่าจะได้อะไรจาก FTA

ในการประชุมรัฐมนตรีการค้า APEC ช่วงกลางปี 2565 มีข้อสรุปให้จัดทำ “แผนเตรียมความพร้อมในการทำ FTAAP” โดยในการประชุมผู้นำที่จะถึงนี้จะได้เห็นแผนระยะ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2023-2026 ซึ่งจะเตรียมความพร้อมในทุกมิติ จากนี้ต้องรอดูว่าเขตเศรษฐกิจใดจะร่วมเจรจา FTAAP ในอีก 4 ปีข้างหน้า

ที่มาภาพ/ข้อมูล อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1080489

บทความที่เกี่ยวข้อง