Search
Close this search box.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ จังหวัดตรัง

share to:

Facebook
Twitter

กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ จังหวัดตรัง

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2566 ดร. เกรียงยุทธ ผิวอ่อน วิศวกรชำนาญการพิเศษ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี นายชัยวัฒน์ โภคาวัฒนา นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดตรัง กล่าวต้อนรับ และมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิงหะ ฉวีสุข หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงาน ณ โรงแรมวัฒนา พาร์ค จังหวัดตรัง

ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต แผนย่อยอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อย แต่ได้มาก”

ทั้งนี้ BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 ระบบเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B – Bio Economy คือระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C – Circular Economy ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G – Green Economy คือระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงสามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ พร้อมช่วยส่งเสริมยกระดับตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ (Value Chain) ให้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งและมีศักยภาพ เพิ่มผลิตภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งผลดีต่อประเทศตลอดจนสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป

โดยกิจกรรมภายใต้โครงการ ประกอบด้วย

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เคมีชีวภาพและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์)

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เคมีชีวภาพและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (จำนวน 2 ต้นแบบ)

ดังนั้น วันนี้จึงจัดงานเผยแพร่กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจ จำนวน 200 คน

 

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230907145543570