Search
Close this search box.

‘อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์’แท่นสลายพลัง ‘ ลดมลภาวะทางเสียง-แรงสั่นสะเทือนรถไฟ’

share to:

Facebook
Twitter

 

การขยายตัวของระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทย ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคิดหาทางลดผลกระทบที่เป็นมลภาวะทางเสียง  และแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟ ที่รบกวนคุณภาพชีวิตชุมชนและบริเวณใกล้เคียงที่รถไฟวิ่งผ่าน  ซึ่งในต่างประเทศ ใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการลดเสียงจากต้นกำเนิด หรือปรับการสั่นสะเทือนด้วยการติดตั้งแท่งสลายพลังงาน (Track Damper) บนรางรถไฟ    สำหรับประเทศไทย ได้นำแนวคิดนี้มาวิจัยพัฒนาต่อยอดจนได้ผลงานที่ชื่อว่า“อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์”ซึ่งเป็นแท่นสลายพลังงานลดมลพิษทางเสียงและการสั่นสะเทือนบนรางรถไฟ ที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้วัสดุที่เป็นส่วนผสมจากยางธรรมชาติ  และวัสดุรีไซเคิล หรือเรียกว่าเป็น BCG recycled 100% ซึ่งผลงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลจีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ล่าสุดได้มีการลงนามระหว่างบพข.สถาบันเทคโนโลจีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  เอกชนไทยโดย บริษัท เอ. ยู. ที. จำกัด(AUT) บริษัท M&S Engineering ประเทศออสเตรเลีย และ บริษัท UUDEN Rail Products ประเทศเนเธอร์แลนด์ในการผลิต  เพื่อขยายผลในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  ด้วยการส่งออกไปจำหน่ายในยุโรปและออสเตรเลียเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยมี รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. พร้อมด้วย ดร.นคร จันทศร อนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล   คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด นายธรณิน ณ  เชียงตุง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ.ยู.ที. จำกัด และตัวแทนจากบริษัทเอกชนไทย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ร่วมเป็นสักขีพยาน

หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาระบบราง สจล. กล่าวอีกว่า จุดเด่นผลิตภัณฑ์  Track Damper  ที่วิจัยและพัฒนราขึ้นใหม่นี้คือ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางเสียงจากรถไฟ สามารถลดเสียงดังที่ต้นเหตุ ได้ตั้งแต่ 3 – 7 เดซิเบล   สามารถเพิ่มสมรรถนะของทางรถไฟ ลดวงรอบการซ่อมบำรุงจากการเจียรราง อีกทั้ง ติดตั้งง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษา คุ้มค่ากว่ากำแพงกันเสียง

ส่วนวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุ BCG recycled ได้ 100%  ซึ่งสามารถใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมได้ถึง 50% ของวัสดุพอลีเมอร์สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษต  นอกจากนี้ ยังเป็นการ ยกระดับจากอุตสาหกรรมจาก Tire 3 สู่ Tier 1 ที่ออกแบบผลิตและทดสอบโดยนักวิจัยไทย ร่วมกับบริษัทเอกชนไทยโดยใช้วัสดุในประเทศ 100% ทำให้เกิดองค์ความรู้และการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีโดยคนไทย ผลงานที่ได้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการและใช้จริงในประเทศไทย ทั้งรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมืองและมีความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) อยู่ในระดับ  8 พร้อมสำหรับการต่อยอดในเชิงพาณิชย์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaipost.net/news-update/577168/

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://www.thaipost.net/news-update/577168/