นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนายวิสูตร อินทรกำเนิด นายอำเภอพุนพิน โดยนายกรองศักดิ์ โอยสวัสดิ์ ฟัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายพิชัย มณีลาภ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นายประเวศน์ ราชบูลย์ พัฒนาการอำเภอพุนพิน และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพุนพิน ลงพื้นที่ติดตามผลสำเร็จ พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for Quality of Life : HLM) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ขนาดพื้นที่ 3 ไร่
ปีงบประมาณ 2563 แปลงนายอนันต์ เจริญมึ บ้านท่นาง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพ และความสามารถในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติ ตามหลักทฤษฎีขั้นบันได 9 ขั้น ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ได้แก่ พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น และเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า ได้แก่ บุญและทาน เก็บรักษา ค้าขาย เครือข่ายแนวคิด พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for Quality of Life : HLM) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกสู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นการขุดปรับพื้นที่ตามรูปแบบ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่ โคก : พื้นที่สูงที่มีการถมดินและถมสูงกว่าปกติของแปลง ตามภูมิสังคมและการใช้งาน ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูกพืช 5 ระดับหรือ “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ/ปลูกพืช ฝัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ พื้นที่ในการใช้ประโยชน์ในการ บริหารจัดการน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจาเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม/ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มกรระบายน้ำยามน้ำหลาก นา: พื้นทีนานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดินยกค้นนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นรับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามค้นนา โดยสอดคล้องกับ BCG Economy Model การนำเกษตรมาผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ถือเป็นแนวทางการทำการเกษตรอินทรีย์ และการสร้างวิถีชีวิตที่มีความยั่งยืน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งจุดมุ่งหมายได้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) มุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุลในมิติสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมและ แก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี และความพอประมาณอย่างมีเหตุผล ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งแสวงหาความร่วมมือ จาก 7 ภาคี ในพื้นที่ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านการพัฒนาองค์ความรู้ การบริหารจัดการ การตลาด งบประมาณ และอื่นๆ
สำหรับแปลง โคก หนอง นา นายอนันต์ เจริญมี ประกอบด้วยฐานการเรียนรู้มากกว่า 11 ฐาน ได้แก่ ธนาคารน้ำใต้ดิน ถังขยะเปียก คนเอาถ่าย สารไล่แมลง การทำน้ำหมัก จุลินทรีย์ การเพาะพันธ์และอนุบาลพันธ์พืช การปลูกพืชสมุนไพร แปรรูปกล้วยกรอบแก้ว/เบรคแตก การเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาหมอ ปลากระดี่ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีกลุ่มผู้สนใจชาวบ้านในชุมชน เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการ และกลุ่มองค์กรต่างๆ เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้ กิจกรรมภายในแปลง โคก หนอง นา ประมาณ 100 – 150 คน/เดือน และพืชผัก ผลไม้/สัตว์เลี้ยงต่างๆ ในแปลงโคก หนอง นา ที่เหลือจากรับประทานภายในครัวเรือนและแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียงในชุมชนแล้ว เหลือขายและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กล้วยฉาบ ปลาแดดเดียวสร้างรายได้กับครัวเรือน จำนวน 15,000 บาท/เดือน
นายวิสูตร อินทรกํเนิด นายอำเภอพุนพิน กล่าวว่า อำเภอให้การสนับสนุนและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือ 7 ภาคี เครือข่ายในการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน ที่มีศักยภาพ และเป็นตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีสู่ครัวเรือน ชมชน และพื้นที่ใกล้เคียง
นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า แปลงโคก หนอง นา พัฒนาชุมชน เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีชีวิต สามารถสร้างความ มั่นคงทางอาหารได้อย่างแท้จริง เปรียบในชีวิตคนเรามีการเรียนรู้ 3 วิชา คือการเรียนรู้วิชาการ การเรียนรู้วิชาชีพ และการเรียนรู้วิชาชีวิต แปลงโคก หนอง นา ได้ตอบโจทย์การเรียนรู้วิชาชีพ ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในฐานการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับครัวเรือนและชุมชนได้อย่างแท้จริง
ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230519150437929