Search
Close this search box.

‘ปลาน้ำจืดอพยพ’ ลดลง 81% กระทบความมั่นคงทางอาหาร คนทั่วโลกขาดอาชีพ

share to:

Facebook
Twitter

  • ปลาอพยพน้ำจืดทั่วโลกมีจำนวนลดลงถึง 81% ตั้งแต่ปี 1970 – 2020 แต่ในภูมิภาคลาตินอเมริกา และแคริบเบียน สถานการณ์เลวร้ายกว่านั้น เพราะมีปลาน้ำจืดลดลง 91%
  • การสูญเสีย และความเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ การสร้างเขื่อน การเปลี่ยนพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่ทางการเกษตร การประมงเกินขีดจำกัด การเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำ มลพิษที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังส่งผลให้สายพันธุ์ปลาลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
  • ยุโรป และสหรัฐได้รื้อเขื่อน ฝายชะลอน้ำ และแนวกั้นแม่น้ำอื่นๆ นับพันแห่งในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวิตภาพในระบบน้ำจืด ปรับปรุงสุขภาพของแม่น้ำ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนไปพร้อมกันประชากรปลาน้ำจืดอพยพทั่วโลกกำลังลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลาไหล และปลาสเตอร์เจียน ถือว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อความมั่นคงทางอาหาร และความเป็นอยู่ของผู้คนหลายล้านคน อีกทั้งยังระบบนิเวศน้ำจืดฟื้นตัวได้ช้าลงอีกด้วยการศึกษาใหม่ที่เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิการย้ายถิ่นพันธุ์ปลาโลก, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF พบว่า ปลาอพยพน้ำจืดทั่วโลกมีจำนวนลดลงถึง 81% ตั้งแต่ปี 1970-2020 แต่ในภูมิภาคลาตินอเมริกา และแคริบเบียน สถานการณ์เลวร้ายกว่านั้น เพราะมีปลาน้ำจืดลดลง 91%
  • สาเหตุที่ปลาน้ำจืดลดลง

    การสูญเสีย และความเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ ถือเป็นภัยคุกคามหลักที่ทำให้จำนวนปลาน้ำจืดลดลงถึงครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังเกิดจากการสร้างเขื่อน การเปลี่ยนพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่ทางการเกษตร เช่นเดียวกับการประมงเกินขีดจำกัด ที่ทำให้ปลาเติบโตไม่ทันต่อการทำประมง

    รวมถึงการแตกตัวของแม่น้ำและการเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำ มลพิษที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังส่งผลให้สายพันธุ์เหล่านี้ลดลง อย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

    ที่มาข้อมูลและภาพ :อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com/environment/1128853