Search
Close this search box.

จังหวัดนครพนม เปิดเวทีเสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติขับเคลื่อน BCG Model ในระดับพื้นที่

share to:

Facebook
Twitter

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุมพระธาตุพนม ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 จังหวัดนครพนม ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครพนมจัดขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพด้านโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย คณะทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะทำงานด้านการขนส่ง คณะทำงานด้านพลังงาน คณะทำงานด้านการเกษตร คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เทศบาลเมืองนครพนม เทศบาลตำบลทุกแห่ง ตลอดจนภาคเอกชน และประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของจังหวัดนครพนมโดยใช้องค์ความรู้ด้านโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) โดยผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้จาก นางวรรณณิพา ทองสิมา ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ เกี่ยวกับหลักการและความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ นางสาวกุหลาบ สุตะภักดี นักวิเคราะห์อาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน BCG ของประเทศไทย เกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนและประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจBCG ในระดับจังหวัด ที่คณะทำงานด้านต่าง ๆ จะต้องดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ผ่านแผนการขับเคลื่อน 3 ระยะ โดยปัจจุบันเข้าสู่ระยะที่ 2 ที่สัดส่วนเกษตรกรผู้ประกอบการที่ประยุกต์ใช้แนวคิด BCG เพิ่มขึ้น ตลาดในประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ขยายตัวเพิ่มขึ้น สัดส่วนของมูลค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น และการขยายตัวของการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG มีทั้งเดิมและใหม่

ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ด้านเกษตรและอาหารมีประชาชน 12 ล้านคนทำงานภาคการเกษตร ซึ่ง 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกพืช 6 ชนิดคือ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันปาล์ม และข้าวโพด ขณะที่ด้านสุขภาพและการแพทย์ ต้องใช้งบประมาณ 1 แสนล้านบาท เพื่อนำเข้าผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม และ 1.4 ล้านล้านบาท คืองบประมาณการค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ส่วนด้านพลังงานวัสดุและเคมีชีวภาพ 60 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ใช้ในประเทศมาจากการนำเข้า 15.5 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ผลิตในประเทศไทยมาจากการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งที่เป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ ของอ้อย มันสำปะหลัง แต่นำเข้าพลังงาน 1 ล้านล้านบาท และมีพลังงานชีวมวล 40 ล้านตันไม่ได้ใช้ประโยชน์ต้องเผาทิ้งทำให้เกิดมลพิษ ส่วนด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยมีรายได้เป็นอันดับ 4 ของโลก คือ 3 ล้านล้านบาท โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวคือประมาณ 35 ล้านคน กระจุกตัวอยู่ใน 8 จังหวัด

 

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230221184649243