งานเสวนา APEC 2022 SCE Policy Dialogue : Understanding the Bio-Circular-Green Economy Model for Strong, Balanced, Secure, Sustainable and Inclusive Growth in the Asia-Pacific

share to:

Facebook
Twitter

วันอังคาร, 22 กุมภาพันธ์ 2565
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดเวทีสนทนาทางนโยบาย “SCE Policy Dialogue: Understanding the Bio-Circular-Green Economy Model for Strong, Balanced, Secure, Sustainable and Inclusive Growth in the Asia-Pacific” เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมี รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. เป็นประธานร่วมกล่าวเปิดงาน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. เป็นวิทยากรในหัวข้อ “Thailand’s Bio-Circular-Green Economy Model” และ ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เป็น Moderator ใน Session: Introduction

ในเวทีเสวนา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) Agriculture and Food Systems (2) Energy Efficiency and Resilience และ (3) Resource Management and Creativity in the Economy และได้รับเกียรติจากผู้แทนเขตเศรษฐกิจของเอเปคมีความเชี่ยวชาญในหัวข้อดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ BCG Economy Model ร่วมถึงเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และกลยุทธ์ที่แต่ละเขตเศรษฐกิจของเอเปคได้นำแนวคิด BCG Economy มาใช้ในการฟื้นฟูตนเองหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเน้นย้ำที่การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและสมดุล สอดคล้องกับหัวข้อหลักของของการประชุมเอเปคในปี 2565 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.”

นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กต. ในฐานะผู้กล่าวปิดการประชุม ได้กล่าวสรุปสาระสำคัญจากการเสวนา ในประเด็นต่างๆ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบาย BCG ซึ่งมีหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่มีการผลักดันจากทั้งภาครัฐและเอกชน ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของไทยอันเป็นรายได้หลักของประเทศ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาในการใช้ EV รวมทั้งพลังงานทางเลือกรูปแบบต่างๆ เพื่อลดต้นทุนจากการบริโภคพลังงาน รวมถึงการสนับสนุนภาคการเกษตร โดยได้ยกกรณีตัวอย่างจาก น่าน sandbox ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร ควบคู่ไปกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านเกษตรกรรม รวมทั้งการหาตลาดใหม่ๆ ที่รองรับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า