สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นำนักออกแบบลงจังหวัดชายแดนใต้ ต่อยอดผ้าบาติกสู่ความร่วมสมัยผ่านแนวคิด BCG ลดโลกร้อน นำวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์งานสร้างเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานพัฒนาเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัยของนักออกแบบ ในพื้นที่ภาคใต้ จ.ยะลา และนราธิวาส ตามโครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย ประจำปี 2566 ของนายทรงวุฒิ ทองทั่ว ดีไซน์เนอร์ ที่ร้านศรียะลาบาติก จ.ยะลา กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมบาติกภาคใต้ และบาติก เดอนารา จ.นราธิวาส เพื่อให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาต่อยอดลวดลายผ้าบาติกที่เป็นวิถีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น ให้มีความร่วมสมัยเกิดลวดลายใหม่ๆที่หลากหลายเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ เหมาะกับการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังใช้การเชื่อมโยงอัตลักษณ์เดิมจากท้องถิ่นให้มีเรื่องราวมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สู่อุตสาหกรรมผ้าในระดับต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศควบคู่กับการจำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าเดิมๆ ซึ่งปีนี้ได้เน้นให้นักออกแบบร่วมสร้างสรรค์งานที่ตอบโจทย์แนวคิด BCG ลดโลกร้อน ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ยั่งยืน รวมถึงใช้วัสดุที่ก่อให้เกิด Carbon Footprint น้อยที่สุด
ด้านนายทรงวุฒิ ทองทั่ว นักออกแบบ กล่าวว่า การออกแบบครั้งนี้ใช้สีธรรมชาติพิมพ์ลงบนผ้ายีนส์ เนื่องจากการเกิด ปัญหาโลกร้อน การที่ประเทศต่าง ๆ มีภูเขาไฟระเบิด และส่งผลให้น้ำแข็งขั่วโลกละลายอย่างรวดเร็ว ที่เห็นได้ชัดคือปีนี้อากาศประเทศไทยร้อนจัด จึงออกแบบลายลาวาบนผ้ายีนส์ และใช้สีธรรมชาติพิมพ์ลงบนผ้ายีนส์ อุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์ลาย ลายคลื่นความร้อน และลายแหอวน สะท้อนปัญหาขยะพลาสติก รวมถ ลายฝุ่นPM2.5 และลายภูเขาน้ำแข็งแตก โดยลวดลายทั้งหมดจะนำมาพิมพ์ลงบนผ้ายีนส์
ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230523111626789