ประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมา เคยถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศต้น ๆ ที่สร้างขยะพลาสติกต่อประชากรมากที่สุดในโลก แต่ในปี 2564 ประเทศไทยสามารถปรับลดจากอันดับที่ 6 ของโลกกลายมาเป็นอันดับที่ 10 ได้เป็นผลสำเร็จ (มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, 2565)
น่าสนใจว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมพลาสติกมีมูลค่ากว่า 8.4 แสนล้าน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ภายใต้โครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน” มีโจทย์วิจัย สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณค่าทางวัตถุดิบ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้นานมากขึ้น
ดร.ลัษมณ อรรถาพิช ที่ปรึกษาผู้อํานวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึง พันธกิจในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน รวมทั้งจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลต่างๆ ที่รอบด้าน ทันสมัย และเพียงพอ เพื่อนำมาใช้ชี้เป้าประเด็นสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ดังนั้น สกสว. จึงสนับสนุน โครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบ ววน. สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) , สุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) , คงศักดิ์ ดอกบัว สถาบันพลาสติก , วิชชุดา เดาด์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ , ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ บริษัท นิวอาไรวา จํากัด และ ธนาชัย ปิยะศรีทอง บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) เข้าร่วมประชุมและนำเสนอข้อคิดเห็น
ที่มาข้อมูล/อ่านต่อทั้งหมดที่ : https://www.bangkokbiznews.com/blogs/business/1016380