การคมนาคมขนส่งทางราง เป็นการเดินทางและขนส่งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยที่สุด รัฐบาลเร่งรัดการพัฒนาระบบคมนาคมทางราง ดังนี้
1. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน
- ก่อนปี 2557 มีโครงข่ายรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง 85 กิโลเมตร
- ปัจจุบันรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้เปิดให้บริการแล้วเป็น 8 สี 11 เส้นทาง ระยะทาง 212 กิโลเมตร จากทั้งหมด 554 กิโลเมตร
- อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 เส้นทาง 114 กิโลเมตร
- จะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมจะเปิดให้ใช้บริการเพิ่มทุกปี อีกปีละ 30-40 กิโลเมตร ช่วงระหว่างปี 2565-2567 ในสายสีชมพู และสายสีเหลือง
- อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการ 4 เส้นทาง 93 กิโลเมตร และดำเนินการในระยะต่อไป 8 เส้นทาง 134 กิโลเมตร
2. การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ก่อสร้างศูนย์กลางระบบราง Landmark แห่งใหม่ของประเทศ ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นจุดเชื่อมต่อทุกระบบราง
3. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ และทางสายใหม่ เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟทางคู่และทางสายใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่งสินค้า โดยเปิดให้บริการทางคู่ 2 เส้นทาง 293 กิโลเมตร อยู่ระหว่างก่อสร้างทางคู่ 5 โครงการ 700 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างประกวดราคาทางสายใหม่ 2 โครงการ 678 กิโลเมตร
4. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง พลิกโฉมระบบรางของไทย ด้วยรถไฟความเร็วสูง เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรก 473 กิโลเมตร
ผลงานการพัฒนาระบบการคมนาคมทางรางของรัฐบาลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ลงทุนรวมกว่า 1,508,648 ล้านบาท
- จากอดีตที่มีโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเพียง 85 กิโลเมตร พัฒนาเพิ่มอีก 334 กิโลเมตร
- พัฒนาสถานีกลางบางซื่อเป็น Landmark แห่งใหม่ของประเทศ
- จากอดีตที่มีโครงข่ายรถไฟทางหลวงเพียง 357 กิโลเมตร พัฒนาเพิ่มอีก 1,671 กิโลเมตร
- พัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรก 473 กิโลเมตร
นี้คือความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาระบบการคมนาคมทางรางให้เป็นระบบหลักของประเทศ เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ อำนวยความสะดวกในการเดินทาง สร้างโอกาส และกระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาค เพื่อความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศสืบไป
ที่มาข้อมูล : https://www.facebook.com/watch/?v=3540323766230455