นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจและเยี่ยมชมนิทรรศการการบูรณาการความร่วมมือรถโลกร้อนลดก๊าซเรือนกระจกด้วยปูนซีเมนต์ไฮโดรลิค ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี โดยมีตัวแทนส่วนราชการภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมในพิธีลงนาม
นายปริญญา คุ้มสระพรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากนโยบายภาครัฐให้ความสําคัญกับการดําเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ให้บรรลุตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับประเทศ โดยมุ่งใช้แนวทาง Bio-Circular-Green Economy นําประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 40 ในปี 2573 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 และปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 ด้วยการสนับสนุนด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียมรวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ตามที่นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้คํามั่นต่อที่ประชุมระดับผู้นํา (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 22 (United NationsFramework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP 26) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร จังหวัดสระบุรีมีความมุ่งมั่นพร้อมแสดงบทบาทนำร่วมขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ภายใต้แผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด และตระหนักถึงความสําคัญของแต่ละภาคส่วนที่เข้ามาร่วมกันดําเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ก่อเกิดงานก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนสําคัญในความสําเร็จของประเทศไทยในการลดก๊าซเรือนกระจก จากสาขา IPPU อีก 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2566 ส่งผลให้ประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขัน นํามาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า จังหวัดสระบุรีเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงให้ความสำคัญในการพัฒนา จังหวัดตามแนวทาง BCG เพื่อสร้างสมดุล ทั้งค้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งมั่นคำเนินการตามแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมจากการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในจังหวัดสระบุรี ข้อมูลในปี 2558 พบว่าจังหวัดสระบุรีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 27.93 ล้านตันคาร์บอนไดอกไซด์เทียบเท่า โดยกิจกรรมย่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด คือ กระบวนการทางอุตสาหกรรม (ร้อยละ 68.32) สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดสระบุรีเนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม โดยหนึ่งในมาตรการที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่าเคยมีมา
ในการนี้ จึงได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระบุรี ลงบันทึกความเข้าใจเรื่อง การบูรณาการความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสระบุรีเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการส่งเสริมการใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ได้แก่ สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี สํานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสระบุรี โครงการชลประทานจังหวัดสระบุรี สํานักงานพาณิชย์จังหวัดสระบุรี แขวงทางหลวงสระบุรี แขวงทางหลวงชนบทสระบุรี สํานักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี หอการค้าจังหวัดสระบุรี สมาคมธนาคารไทย จังหวัดสระบุรีและสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ร่วมกันขับเคลื่อนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Process and Product Use: IPPU)ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคเอกชน ในจังหวัดสระบุรี ที่มีโครงการก่อสร้าง ใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก และผลิตภัณฑ์คอนกรีตจากปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
ด้าน ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (ICMA) กล่าวว่า การพัฒนาปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก สามารถลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดโลกร้อน ได้อย่างมีนัยสำคัญ การลดการเผาหินปูนในกระบวนการผลิตและนำเทคโนโลยีการบดเข้าใช้ เพื่อควบคุมคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 2594 ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงนับเป็นปูนชีมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีคุณสมบัติใช้แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้ความร่วมมือดำเนินการจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ นับเป็นกลไกสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จ ซึ่งหากสามารถลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2566 จะเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญสู่ Thailand’s New Era of Low Carbon Cement และผู้ผลิตพร้อมยกเลิกการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ในวันที่ 1 มกราคม 2567″
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศอย่างต่อเนื่องมีการจัดทำ Thailand Net Zero Cement and Concrete Roadmap 2050 ร่วมกับสมาคมคอนกรีตแห่การสนับสนุนของ Global Cement and Concrete Association (GCCA) ภายใต้ Roadmap ประเมินลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 303 ล้านตัน CO 2 โดยลดลงได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายThailand NDC และเข้าสู่ Net Zero ในปี 2593 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางระดับโลก
ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230404164924035