มีพื้นที่แห้งแล้งขาดนํ้า มีไฟไหม้ป่า ลุกลามเป็นวงกว้าง ผู้คนล้มหายตายจากโรคความร้อน ต่อด้วยวิกฤติ Rain Bomb ฝนถล่ม นํ้าหลาก นํ้าท่วม ดินถล่ม สร้างความเสียหายให้เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ติดริมนํ้า ด้วยดินโคลนจากภูเขา เหตุการณ์ที่คล้ายกัน ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ทั้งหมดเกิดจากปัญหาความไม่ยั่งยืนตาม SDG
เมื่อเราพูดถึงภาวะโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีคำสำคัญ ๆ อยู่ 3 คำ แต่ละคำมีแนวทางที่จัดการกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่างกัน
1.Climate Change Mitigation การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยคนกลุ่มนี้จะพยายามควบคุมการปลดปล่อยคาร์บอนต่าง ๆ เช่นการขับเคลื่อน Low Carbon Society/Net Zero/BCG รวมถึงการเร่งใช้พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด การเร่งปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน ทั้งนี้มีแนวคิดว่าเราต้องควบคุมการปลดปล่อยคาร์บอนของทุกคนไม่ให้เกิน 2 ตัน ต่อคนต่อปี เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 C แต่ดูแล้วคงจะไม่ทันการ เพราะผู้คนยังคงปล่อยคาร์บอนกันเต็มที่ อุตสาหกรรมก็ยังไม่ทำเต็มที่ เพราะกฎหมายยังไม่มีโทษรุนแรง และรัฐบาลต่าง ๆ ก็ไม่กล้าออกกฎหมายเข้มข้น เกรงจะกระทบเศรษฐกิจ และฐานเสียงผู้สนับสนุนพรรค
2.Climate Change Resilience การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคนกลุ่มนี้คิดว่าเราจะมาลดปัญหา ลดคาร์บอน ไม่ทันการณ์แล้ว ที่ลดปัญหาก็ทำกันไป แต่เราต้องเตรียมพร้อมรับมือผลกรรม คนกลุ่มนี้จะช่วยกันรวบรวมข้อมูล ดูเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดภัยพิบัติใหม่ ๆ ต้องเตรียมแผนอพยพ พัฒนาความสามารถในการจัดการภัยพิบัติ สร้างเครือข่ายอาสาสมัครยามวิกฤติ พัฒนาแหล่งทุน เตรียมพื้นที่รองรับการอพยพ และพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้เปราะบางต่าง ๆ รวมถึงผลักดันนโยบายของรัฐ ให้มีการจัดการ มีแผน มีงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉิน และมีการเยียวยาระยะยาว
3.Climate Change Adaptation การปรับตัวสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คนกลุ่มนี้ปรับ Mindset แล้วว่าหายนะมาถึงตัวแล้ว จะมาเรื่อย ๆ ต้องรีบปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดโดยด่วน เขารู้ว่าวิกฤติต่าง ๆ จะถาโถมมาอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทุกเรื่องไม่ว่า ร้อน ฝน หนาว แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ ฝุ่นควัน ไฟป่า จะมาจนเป็นปกติ เราต้องอยู่รอด และดำเนินชีวิตในโลกแบบนี้ให้เป็นปกติให้ได้
แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4001692/