Search
Close this search box.

​“เอกนัฏ” ร่วมประชุม ครม. สัญจรนัดแรก ชู “ศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่” สร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับศักยภาพ

share to:

Facebook
Twitter

 

 

จังหวัดเชียงใหม่ : 29 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม

ก่อนการประชุม นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมบูธและนิทรรศการต่างๆ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดนิทรรศการศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ (DIPROM Bamboo City Center) ซึ่งภาคเหนือตอนบนมีการส่งเสริมให้ปลูกไผ่เป็นพืชทดแทนในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าต้นน้ำ การเผาเศษผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พื้นที่การปลูกไผ่ของภาคเหนือจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาแบบ “แม่แจ่มโมเดล” เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ชาวบ้านได้ลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหา ลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดซึ่งเป็นพืชเชิงเดี่ยว ลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำ ลดฝุ่นควันจากการเผาซากไร่และส่งเสริมการปลูกไผ่ การแปรรูป การจัดหาตลาดรองรับ เป็นการบริหารจัดการ ตั้งแต่ ‘ต้นนำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ’ ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน รวมถึงกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ามาร่วมกันพัฒนาและต่อยอดอย่างเป็นองค์รวมในการฟื้นฟู่ระบบนิเวศควบคู่ไปกับการสร้างอาชีพสร้างรายได้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาพื้นที่วิถีไผ่” สร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมในพื้นที่ ด้วยนวัตกรรม การเชื่อมโยงงานวิจัยและความคิดสร้างสรรค์

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงใหม่ (GPP) ของภาคอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 41,485 ล้านบาท มีทิศทางการพัฒนาขับเคลื่อนเกษตรเพิ่มมูลค่าและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง ภายใต้ BCG Model การยกระดับการค้าการลงทุนบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการเชิงรุกปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีโรงงานนอกนิคม 1,084 โรงงาน (เงินทุนรวม 45,827. 65 ล้านบาท คนงาน 35,723 คน) สถานประกอบการเหมืองแร่ 16 ราย SME และวิสาหกิจชุมชน 19,595 กิจการ/ราย มีการประกอบกิจการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33 มีคนคนงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 192.56 มีเงินทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.72 ส่วนจังหวัดลำพูน มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ของภาคอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 41,485 ล้านบาท มีทิศทางในการพัฒนาเมืองแห่งอุตสาหกรรม หัตถอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เกษตรสุขภาพและเกษตรนวัตกรรมสร้างสรรค์ โดยจังหวัดลำพูนมีโรงงานนอกนิคม 386 โรงงาน (เงินทุนรวม 34,092.48 ล้านบาท คนงาน 28,445 คน) โรงงานในนิคม 73 โรง (เงินทุนรวม 164,000 ล้านบาท คนงาน 35,000 คน) สถานประกอบการเหมืองแร่ 11 ราย SME และวิสาหกิจชุมชน 8,432 กิจการ/ราย

 

แหล่งที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/90839