Search
Close this search box.

จาก BCG Model สู่ BCG Tourism เติมส่วนผสมความยั่งยืนลงในการท่องเที่ยวอาหาร – ชุมชน – สุขภาพ

share to:

Facebook
Twitter

แนวคิด BCG Tourism เป็นการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาประยุกต์กับการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ เน้นความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แบ่งปันประโยชน์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพและทางวัฒนธรรมค่อนข้างสูง เช่น วิถีชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน สังคมเกษตรกรรม หรือความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ถือว่าเป็นต้นทุนที่แข็งแรงต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว BCG Tourism ไปสู่ความยั่งยืน หากเข้าใจที่จะต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

แนวทางเบื้องต้นเพิ่มเติมส่วนผสมความยั่งยืนลงในการท่องเที่ยวอาหาร – ชุมชน – สุขภาพ สู่การสร้างการท่องเที่ยว BCG Tourism จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง

1) การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)
เมืองไทยที่เป็นเมืองเกษตรกรรม สามารถต่อยอดร่วมกับ BCG Tourism ด้วยการชูโรงอาหารที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์ออแกนิค ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อธรรมชาติและความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค

นอกจากนี้ ยังสามารถนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเชิงคุณภาพ เช่น การดูแลผลผลิต การควบคุมคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ การตลาด รวมไปถึงการสร้างช่องทางเชื่อมโยงกับผู้บริโภคผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นได้อีกด้วย

2) การท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชน (Local Tourism)

3) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)

แนวคิด BCG Tourism เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ BCG Model เพื่อส่งเสริมธุรกิจสีเขียว

 

อ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่