BGC Model ฉบับพกพา

share to:

Facebook
Twitter


BGC Model โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจไทย ที่ขับเคลื่อน 3 อย่างไปพร้อมกัน ทั้งด้านทรัพยากรชีวภาพ ด้านหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรซ้ำ และการสร้างความยั่งยืน ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า แต่ละแนวคิด มีความสอดคล้องอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อม

1. Bioeconomy (เศรษฐกิจชีวภาพ)
เป็นแนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้จากทรัพยากรชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างสิ่งใหม่ ๆ และรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน จุดประสงค์คือ ให้เกษตรกรรายย่อย ธุรกิจแปรรูปผลผลิตเกษตร และเหล่าผู้ประกอบการ ได้ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตของตัวเองได้

กลยุทธ์ของเศรษฐกิจชีวภาพ จะถูกใช้ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
1. เกษตรและอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. สุขภาพและการแพทย์ เช่น สมุนไพร
3. พลังงานเคมีและวัสดุ เช่น ไบโอรีไฟเนอรี เป็นกระบวนการที่สามารถเปลี่ยนแป้งจากมันสำปะหลัง
เป็นน้ำตาลได้
4. ท่องเที่ยว เช่น ท่องเที่ยวสุขภาพ ท่องเที่ยวเชิงความรู้

2. Circular economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) เป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่ใช้ผลิตภัณฑ์ให้เต็มวงจร
ลดของเสียให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดสารพิษตกค้างบนโลกของเรา และพร้อมรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในวันข้างหน้า เช่น ผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ และแนวคิดการหมุนเวียนนี้จะถูกนำไปใช้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรซ้ำ และสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นวงจรไม่รู้จบ

3. Green economy (เศรษฐกิจสีเขียว)
รูปแบบเศรษฐกิจสีเขียว เป็นเหมือนเครื่องหมายย้ำเตือน ให้ทุกส่วนของการพัฒนา ทั้งเศรษฐกิจและสังคม ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในประเทศและมีความได้เปรียบในระดับสากลได้

BCG Model ส่งผลอย่างไรกับคนไทยบ้าง?

  • รายได้กระจายสู่ชุมชน สร้างโอกาสให้ผู้คน โดยไม่มีการทิ้งใครไว้ข้างหลัง ช่วยเหลือตั้งแต่เกษตรกรรายย่อย (ฐานพีระมิด) จนถึง ผู้ประกอบการ (ยอดพีระมิด)
  • พาให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศรายได้ปานกลาง เป็นประเทศรายได้สูง เพราะได้เข้าถึงเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า ในขณะเดียวกันไม่ทำลายทรัพยากร ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่า และทุกผลิตภัณฑ์ต้องเกิดการใช้ซ้ำจนเป็นวงจร
  • ก้าวทันโลก แข่งขันกับต่างชาติได้ มีข้อได้เปรียบเพิ่มมากขึ้น จากตอนแรกมีแค่ทรัพยากร พืชผักอุดมสมบูรณ์ แต่ตอนนี้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ทุกคน

บทความที่เกี่ยวข้อง