Search
Close this search box.

การปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่

share to:

Facebook
Twitter

เศรษฐกิจกระแสใหม่ (New Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อต้องการยกระดับการพัฒนาประเทศ จากการเป็นประเทศ “รับจ้างผลิตสินค้า” เป็นประเทศที่มีความสามารถใน “การพัฒนานวัตกรรม” โดยใช้จุดแข็งของประเทศ เช่น ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างขีดความสามารถของระบบเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยภาคเศรษฐกิจ 5 สาขาหลัก คือ เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) , เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) , เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม (Creative and Cultural Economy) , เศรษฐกิจเพื่อสังคม (Social Economy) และเศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) ซึ่งจัดทำโดยคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่ ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และผ่านความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว

สรุปความก้าวหน้าของการปฏิรูป
โดย อนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจกระแสใหม่

เรื่องที่เสนอ ความคืบหน้า
การปฏิรูปเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)
  • 29 กพ. 59 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 9/59
  • 24 มีค. 59 เสนอนายกรัฐมนตรี และ นรม. เห็นชอบแล้ว และส่งให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ คณะที่ 2 รองนายกฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) / สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้ความเห็นเพิ่มเติม
  • 20 เมย. 59 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายเห็นชอบแล้ว
  • บรรจุในร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

alt Download เอกสาร [229 KB]

การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อสังคม (Social Economy)
  • 7 มีค. 59 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 11/59
  • 24 มีค. 59 เสนอนายกรัฐมนตรี และ นรม.เห็นชอบแล้ว ส่งให้คณะกรรมการ ขับเคลื่อนฯ คณะที่ 2 รองนายกฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) / สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้ความเห็นเพิ่มเติม
  • 20 เมย. 59 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายเห็นชอบแล้ว
  • 30 สค. 59 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม
  • 2 พย. 59 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่าย ในการประชุม ครั้งที่ 35/2559

alt Download เอกสาร [174 KB]

การปฏิรูปเศรษฐกิจ เชิงสร้างสรรค์และเชิงวัฒนธรรม (Creative and Cultural Economy)
  • 28 มีค. 59 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 14/59
  • 20 เมย. 59 เสนอนายกรัฐมนตรี และ นรม.เห็นชอบแล้ว ส่งให้รองนายกฯ (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง และนายวิษณุ เครืองาม) / คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ คณะที่ 2 รองนายกฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) / สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) / สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้ความเห็นเพิ่มเติม
  • 18 พค. 59 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายเห็นชอบแล้ว
  • มีการนำเสนอเรื่องการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center : TCDC) ไปให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาแล้ว
  • 19 ตค. 59 รัฐบาลจัดงานเปิดตัวโครงการ Creative Thailand เพื่อประกาศความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ด้านการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

alt Download เอกสาร [381 KB]

การปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)
  • 4 เมย. 59 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 17/59
  • 12 พค. 59 เสนอนายกรัฐมนตรี และ นรม. เห็นชอบแล้ว ส่งให้รองนายกฯ (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) / คณะกรรมการ ขับเคลื่อนฯ คณะที่ 2 รองนายกฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) / คณะที่ 3 รองนายกฯ (นายวิษณุ เครืองาม) / กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร / สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ แล้ว
  • 1 มิย. 59 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายเห็นชอบแล้ว
  • 12 พค. 59 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม
  • 19 พย. 59 คณะกรรมาธิการฯ ขอขยายเวลาการพิจารณาศึกษา ออกไปอีก 30 วัน
  • รัฐบาลได้มีการเปิดเว็บไซต์ ชื่อ http://www.data.go.th เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลบริการภาครัฐแล้ว และมีการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ Open data จำ นวน 790 ชุดข้อมูล และจัดทำ ระบบ Big Data Analytics เสร็จเรียบร้อย

alt Download เอกสาร [735 KB]

การปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property System)
  • 27 มิย. 59 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 32/59
  • 22 กค. 59 เสนอนายกรัฐมนตรีแล้ว และส่งรายงาน ไปยังรองนายกฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และกระทรวงพาณิชย์
  • 25 สค. 59 คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา (คทป.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบแผนที่นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Roadmap) ของไทยระยะ 20 ปี เพื่อปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญารองรับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาของ สปท.
  • 14 กย. 59 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายเห็นชอบแล้ว

alt Download เอกสาร [1.13 MB]

เศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy)
  • 1 สค. 59 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 38/59
  • 27 กย. 59 เสนอนายกรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างส่งรายงาน ไปยังรองนายกฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) / กระทรวงการคลัง / กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์/ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 9 พย. 59 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายเห็นชอบแล้ว

alt Download เอกสาร [1.06 MB]

การปฏิรูประบบนิเวศและการลงทุนในเศรษฐกิจกระแสใหม่ (Ecosystem and Investment in New Economy)
  • 20 ก.พ. 60 สปท. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/60
  • 13 มี.ค. 60 ประธาน สปท. นำเสนอนายกรัฐมนตรี และให้นำส่งคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง เพื่อเร่งรัดขับเคลื่อนต่อไป
  • 31 มี.ค. 60 คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่าย ส่งรายงานถึงทุกหน่วยงานตามบัญชา นรม.

alt Download เอกสาร [4.41 MB]

 

รายชื่อคณะกรรมการธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

1. นาย สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมาธิการ
2. นาย รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองประธานกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
3. นาย คณิสสร นาวานุเคราะห์ รองประธานกรรมาธิการ คนที่สอง
4. นาย ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองประธานกรรมาธิการ คนที่สาม
5. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ ที่ปรึกษากรรมาธิการ
6. นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ที่ปรึกษากรรมาธิการ
7. นาย มนู เลียวไพโรจน์ ที่ปรึกษากรรมาธิการ
8. นาย สันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ที่ปรึกษากรรมาธิการ
9. นาย สมชัย ฤชุพันธุ์ โฆษกกรรมาธิการ
10. นาย กฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้ช่วยโฆษกกรรมาธิการ
11. นาย กลินท์ สารสิน กรรมาธิการ
12. นาย เฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ กรรมาธิการ
13. นาย ชูชาติ อินสว่าง กรรมาธิการ
14. นาย ชูศักดิ์ เกวี กรรมาธิการ
15. นาย ดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์ กรรมาธิการ
16. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ กรรมาธิการ
17. นาย ธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ กรรมาธิการ
18. นาย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ กรรมาธิการ
19. นาย สุวัฒน์ จิราพันธุ์ กรรมาธิการ
20. นาง อรมน ทรัพย์ทวีธรรม กรรมาธิการ
21. นาย กอบศักดิ์ ภูตระกูล เลขานุการกรรมาธิการ
22. นาง ปัทมา เธียรวิศิษฏ์สกุล ผู้ช่วยเลขานุการกรรมาธิการ

 

รายชื่อคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่
ภายใต้คณะกรรมการธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

1. นายปีติพงศ์  พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมาธิการ
2. นายทวีศักดิ์  กออนันตกูล รองประธานอนุกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
3. นางอรมน  ทรัพย์ทวีธรรม รองประธานอนุกรรมาธิการ คนที่สอง
4. นายอนุสร  จิรพงศ์ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
5. นางนภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
6. นายศักดิ์  เสกขุนทด ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
7. นายดุสิต  ลีลาภัทรพันธุ์ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
8. นางสาวอรฉัตร เลียงพิบูลย์ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
9. นายณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
10. นางสาววันทนีย์  พันธชาติ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
11. นายกฤษณ์ไกรพ์  สิทธิเสรีประทีป ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
12. นายประกาศิต กายะสิทธิ์ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
13. นายสนธิรัตน์  สนธิจิรวงศ์ อนุกรรมาธิการและที่ปรึกษา
14. นายอนุกูล  แต้มประเสริฐ อนุกรรมาธิการ
15. นายอภิสิทธิ์  ไล่สัตรูไกล อนุกรรมาธิการ
16. นายณัฐพงษ์  จารุวรรณพงศ์ อนุกรรมาธิการ
17. นายพันธุ์อาจ  ชัยรัตน์ อนุกรรมาธิการ
18. ศาสตราจารย์ พิมพ์ใจ  ใจเย็น อนุกรรมาธิการ
19. นายวรรณวิทย์  อาขุบุตร อนุกรรมาธิการ
20. นายวีระพงศ์  มาลัย อนุกรรมาธิการ
21. นายเวทางค์  พ่วงทรัพย์ อนุกรรมาธิการ
22. นายสุธรรม  อยู่ในธรรม อนุกรรมาธิการ
23. นางอุทัยวรรณ  กรุดลอดยมา อนุกรรมาธิการและเลขานุการ
24. นางสุชาดา  ชยัมภร อนุกรรมาธิการและผู้ช่วยเลขานุการ

บทความที่เกี่ยวข้อง