Search
Close this search box.

เปิดต้นแบบความร่วมมือภาครัฐ – เอกชน เล็งสร้าง ศูนย์วิจัยและพัฒนา BCG Industry เสริมแกร่งระบบนิเวศวิจัยด้านพลังงานของประเทศ

share to:

Facebook
Twitter

“การสร้างสภาพแวดล้อมแบบอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลาง (Industrial Centric) ให้กับบุคลากรทางด้านวิจัย และบุคลากรด้านอุตสาหกรรม เพื่อเดินหน้าสร้างนวัตกรรมที่มีความแตกต่างและเกิดเป็น National Product Champion ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากฐานเทคโนโลยีแนวหน้าของอุตสาหกรรม ให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด นับเป็นจุดตั้งต้นที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาให้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ที่มาจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมจุดแข็งให้ภาคอุตสาหกรรม ผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นแนวหน้าในอาเซียนต่อไป”

นี่เป็นคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่กล่าวในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาล่าสุด ระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงอุตสาหกรรมเพื่อ Bio-Circular-Green Economy model ซึ่งสื่อสารได้เป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม

และในโอกาสนี้ยังมีการเปิดเผยถึงการวางแผนตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนา BCG Industry เสริมแกร่งระบบนิเวศวิจัยด้านพลังงานของประเทศด้วย

ปาฐกถาเปิดงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ในประเด็นสำคัญการผลิตบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

โดยในพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้กล่าวปาฐกถา มีใจความสำคัญที่สื่อสารถึงความสำคัญของการผลิตบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ว่า

“สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่รู้สึกยินดีอย่างมากที่ได้ที่เป็นสักขีพยานในวันนี้ เพราะความร่วมมือของภาคเอกชนและ สวทช. ทำมาได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญถือเป็นการเปลี่ยนโมเดลของการทำวิจัยในประเทศไทยไปแบบก้าวกระโดด”

“แม้ว่าที่ผ่านมาระบบวิจัยเราทำด้าน Supply ไปสู่ Demand ซึ่งส่วนใหญ่เราทำวิจัยระดับความพร้อมเทคโนโลยี (Technology Readiness Level : TRL) ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นไปถึงการพัฒนาขั้นสุดท้ายของการสาธิตในสภาวะการทำงานเท่านั้น แต่ในระดับเทคโนโลยีส่งมอบผ่านการทดสอบสาธิตในสภาพการใช้งานจริงไปสู่อุตสาหกรรมนั้น ยังมีไม่มากเท่าที่ควร”

“ดังนั้น EA ถือเป็นตัวอย่างในการร่วมวิจัย ที่เกิดจาก Demand ของบริษัทเอกชน และต้องการเข้ามาร่วมวิจัยสู่การใช้งานจริงในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ มากกว่าการทำวิชาการด้านเดียว และที่ดีใจเป็นพิเศษ คือ เกิดความร่วมมือของภาคเอกชนและภาครัฐอย่าง สวทช. ในการขับเคลื่อนภายใต้นโยบาย BCG Economy Model ซึ่งเป็นวาระประเทศและวาระของ APEC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพที่ผ่านมาด้วย”

“อย่างไรก็ตาม กระทรวง อว. เป็นกระทรวงที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและเทคโนโลยี ดังนั้นต้องนำส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดด้านธุรกิจ มาเป็นภาคีในการทำงานร่วมกับองค์ความรู้ที่ กระทรวง อว.มีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมแบบอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลาง (Industrial Centric) ให้กับบุคลากรทางด้านวิจัย และบุคลากรด้านอุตสาหกรรม สร้างนวัตกรรมที่มีความแตกต่าง”

“จนกระทั่งเกิดเป็น National Product Champion ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากฐานเทคโนโลยีแนวหน้าของอุตสาหกรรม ให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและทำให้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ที่มาจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมจุดแข็งให้ภาคอุตสาหกรรม ผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นแนวหน้าในอาเซียนต่อไป”

“การดำเนินงานวิจัยและพัฒนานั้น จะเกิดผลสำเร็จก็ต่อเมื่อผลผลิตจากห้องปฏิบัติการมีการนำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อภาคเอกชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และการทำงานของ สวทช. เป็นการคิดค้นเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อแก้ข้อจำกัด และเสริมจุดแข็งให้กับภาคเอกชนให้เกิดความแตกต่างและความได้เปรียบในการแข่งขันด้านธุรกิจ ตลอดจนช่วยให้อุตสาหกรรมก้าวผ่านข้อจำกัดได้ดียิ่งขึ้น”

“ขณะที่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ถือได้ว่าเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน และเป็นผู้เตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยีพลังงานเพื่อรองรับบริบทของพลังงานที่เปลี่ยนไป เห็นได้ชัดก็คือการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานมาเป็นพลังงานไฟฟ้า (Electrification) ที่มาจากพลังงานสะอาด สร้างอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และทางบริษัทฯ ยังได้เตรียมพร้อมโดยมีการตั้งโรงงานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพื่อพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสำหรับใช้งานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยานยนต์ไฟฟ้า”

 

ที่มาบทความ/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.salika.co/2023/01/23/nstda-ea-bio-circular-green-economy-model/

ภาพจาก : https://www.nstda.or.th/home/news_post/pr-mou-nstda-23012566/