Search
Close this search box.

รู้จัก Thai BCG Materials วัสดุไทย…สร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน

share to:

Facebook
Twitter

เชื่อว่าใครที่ติดตามเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจยั่งยืน ต้องคุ้นหูกับคำว่า BCG Economy Model กันอยู่บ้าง เพราะเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่ประเทศไทยมุ่งมั่นจะนำมาใช้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น

โดยใจความสำคัญของ BCG Economy Model ก็คือ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทย อย่างความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม บนพื้นฐานนโยบาย 3 ระบบเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งจะทำงานไปควบคู่กันเพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งของประเทศไทยให้ไปสู่ Thailand 4.0 ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) และนวัตกรรม (Innovation)

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการนำเอารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ BCG Economy มาให้ในประเทศไทย ก็คงหนีไม่พ้นภาคการเกษตร ที่มีการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางการเกษตร ด้วยการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดต้นทุนและลดการสูญเสียทรัพยากร ลดการเกิดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด และส่งเสริมให้มีการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่เพื่อนำไปสู่การกระจายโอกาสและรายได้ ตลอดจนช่วยนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

BCG Economy กับการพัฒนา 5 วัสดุไทย
ในงานเสวนา “Thai BCG Materials วัสดุไทย สร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้นโดย Material & Design Innovation Center สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ก็ได้นำเอาเทรนด์การพัฒนาวัสดุสมัยใหม่ของไทย มาผสมผสานเข้ากับแนวคิดแบบ BCG พร้อมเชิญชวนเหล่าผู้ประกอบการด้านวัสดุสร้างสรรค์ของไทยจำนวน 5 ราย มาร่วมพูดคุยแบบเป็นกันเอง พร้อมจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ และแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางใหม่ของวัสดุไทย ภายใต้แนวคิด BCG Economy เพื่อร่วมค้นหาคำตอบเกี่ยวกับอนาคตของวัสดุไทย ว่าจะสามารถพัฒนาให้มีนวัตกรรมและยั่งยืนได้มากขนาดไหน โดย Creative Thailand ได้รวบรวมจุดเด่นของแต่ละผลิตภัณฑ์ของทั้ง 5 ผู้ประกอบการ มาเพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบได้เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติกันแล้ว ดังนี้

01 ผ้าบาติกร่วมสมัยที่ผสานแพสชันเข้ากับเศษวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ
โดย คุณทยิดา อุนบูรณะวรรณ แบรนด์ Marionsiam

 

02 หนังกาบกล้วยโดยดีไซเนอร์หัวใจรักษ์ธรรมชาติ
โดย คุณธนกร สดใส แบรนด์ Tanee Siam

 

03 แปลงร่างเศษวัสดุในโรงงานบนแนวคิด Circular Economy
โดย คุณนรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และคุณมนัสลิล มนุญพร แบรนด์ Loqa

 

04 ไม้อัดดัดโค้ง…วัสดุใหม่ที่ต่อยอดดีไซน์ได้อย่างไม่รู้จบ
โดย คุณบุญชัย หวังสาธิต บริษัท สินเจริญ วีเนียร์ แอนด์ พลายวู้ด จำกัด

 

05 รักษ์โลกได้ด้วย Eco-Design
คุณวีรพล วงศ์เทวัญ แบรนด์ LUKYANG

 

ที่มาข้อมูล/อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ : https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=34068