ปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ รวมถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ เป็นสัญญาณเตือนถึงวิกฤตภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น การป้องกันทางธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลระบบนิเวศและบรรเทาวิกฤตสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทย พื้นที่ชุ่มน้ำมีกางระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค อย่างใน จ.บุรีรัมย์ มีการแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้งจากการพัฒนาระบบจัดการน้ำได้ทำให้ปัญหานี้คลี่คลายลง หนึ่งในแนวทางสำคัญ คือการฟื้นฟูและอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำ อย่างพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด หรืออ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่คอยกักเก็บน้ำที่ช่วยเกื้อหนุนทั้งการอุปโภค การประปา การเกษตร และระบบนิเวศ การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ ยังเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงทางน้ำให้กับชุมชน
แนวทางที่มีการลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมนี้ ทางกลุ่มธุรกิจ TCP จึงได้จัดกิจกรรม TCP Spirit “คณะเศษสร้าง ปี 3” ภายใต้แนวคิด เฮียนธรรมชาติหมุนเวียน เบิ่งนกกระเรียนฟื้นคืน นำอาสาสมัครจำนวน 50 คน ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย ชุมชนบ้านสวายสอและชุมชนบ้านหัวสะพาน จ.บุรีรัมย์
ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ และครูใหญ่คณะเศษสร้าง กล่าวเสริมว่า หากนึกถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางทรัพยากรด้านวัตถุดิบ ดังนั้นเมื่อมองในมุมของโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(BCG) ที่จ.บุรีรัมย์ ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมาก เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นภาพของเกษตรอินทรีและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีเชื่อมโยงกันเพราะปัญหาใหญ่ของโลก 1 ใน 3 คือ วิกฤตปัญหาดินเสื่อมโทรม ที่ส่งผลต่อการกักเก็บคาร์บอน การอุ้มน้ำ และการทำเกษตร นอกจากนี้ยังทำให้เข้าใจการทำเกษตรอินทรี ที่ต่อยอดในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ส่งต่อไปถึงพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับประโยชน์ เพราะไม่มีสารเคมี และเป็นแหล่งอาศัยของนกต่างๆ และยังสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนหลักจากที่เคยสูญหายไปจากประเทศไทยกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่หรืออาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสประสบการณ์และเห็นถึงผลจากการลงมือทำได้อย่างชัดเจน
แหล่งที่มาข้อมูล / อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thaipost.net/news-update/695813/