ตลาดทุนกับการลดก๊าซเรือนกระจก

share to:

Facebook
Twitter

 

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก ในประเทศไทยทุกท่านน่าจะได้เริ่มเห็นการระดมทุนที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลากหลายรูปแบบ เช่น การออกพันธบัตรสีเขียว (Green Bonds) การลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด เป็นต้น

ตลาดทุนจึงมีส่วนร่วมในการเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) สอดรับกับแนวนโยบายของภาครัฐที่เดินหน้าเปลี่ยนผ่านโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

นอกจากเกณฑ์ต่าง ๆ ในฝั่งหลักทรัพย์ที่ ก.ล.ต.ได้ออกบังคับใช้ในช่วงที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนและการระดมทุนที่คำนึงถึงความยั่งยืน เช่น เกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond)

ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) ก.ล.ต.ยังได้ขับเคลื่อนผ่านกลไกในฝั่งสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายโทเค็นดิจิทัลที่คำนึงถึงความยั่งยืน ในทำนองเดียวกับฝั่งตราสารหนี้

นอกจากนี้ ล่าสุดได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในภาคสมัครใจ ผ่านการออกโทเค็นดิจิทัล ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และการปรับปรุงหลักเกณฑ์กำกับดูแล “Utility Token พร้อมใช้” ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567

 

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1747586