การขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม

share to:

Facebook
Twitter

แนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายการขับเคลื่อน

1.สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน และยกระดับรายได้ของประชากร
2.สร้างความมั่นคงทางสังคม สร้างความมั่งคงทางอาหาร สุขภาพ และพลังงานในทุกระดับ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต
3.สร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดของเสียและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
4.ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 14 ใน 17 เป้าหมาย

BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม

 

ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)

มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เพิ่มผลิตภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม
อุตสาหกรรมเป้าหมาย เกษตร อาหาร ยาและการแพทย์ พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ

โดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน
ปี 2565-2569 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น…% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น…ล้านบาท

กลไกการขับเคลื่อน Bio Economy

  • การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก Center of Bio Excellence : CoBE
  • เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล ได้รางวัล Prime Minister’s Award ด้านการเพิ่มผลผลิตและด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
  • การพัฒนากำลังคนและความสามารถ จาก Center of Bio Excellence
  • บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จาก EECi Biopolis , Bio Complex , CIV หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  • มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ , พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล , เพิ่มบัญชีประเภทอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ , มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
  • การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วย i-mall แพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

มุ่งเน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด และลดของเสีย
อุตสาหกรรมเป้าหมาย พลาสติก ยางรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เหล็กและโลหะอื่นๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า

โดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน
ปี 2565 มีIndustrial Symbiosis 5 พื้นที่อุตสาหกรรม มีกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบ 100%
ปี 2567 มีIndustrial Symbiosis 10 พื้นที่อุตสาหกรรม การนำขยะไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น…%ต่อปี
ปี 2569 มีIndustrial Symbiosis 15 พื้นที่อุตสาหกรรม โรงงาน…%เป็น Zero Waste

กลไกการขับเคลื่อน Circular Economy

  • การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก ITC : ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล
  • เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล ได้รับ Prime Minister’s Award ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และ Certified Zero Waste to Landfill
  • การพัฒนากำลังคนและความสามารถ จาก CEPAS , e-learning
  • บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จากวิสาหกิจชุมชนคัดแยกขยะ และการยกระดับการจัดการกากอุตสาหกรรม
  • มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG มาตรฐานเศรษฐหมุนเวียน (มตช.2/2562) , พ.ร.บ.โรงงาน (กากอุตสาหกรรม)
  • การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วย i-mall แพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์

ระบบเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทุกอุตสาหกรรม

โดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน
ปี 2565 50% Green Industry ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก…ตัน CO2เทียบเท่า
ปี 2567 75% Green Industry ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก…ตัน CO2เทียบเท่า
ปี 2569 100% Green Industry ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก…ตัน CO2เทียบเท่า

กลไกการขับเคลื่อน Green Economy

  • การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก Smart Factory
  • เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล ได้รับ Prime Minister’s Award ด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านความรับผิดต่อสังคม ด้านบริหารความปลอดภัย และสิทธิประโยชน์ผู้ได้รับ GI 4-5
  • การพัฒนากำลังคนและความสามารถ จาก Third Party การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ/เอกชน และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน
  • บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จากGreen Industry , Eco-industrial Estate/Town , CSR-DIW , CSR-DPIM
  • มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG มาตรฐานผลิตภัณฑ์ , มาตรฐานระบบ , พ.ร.บ.โรงงาน
  • การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วยi-mall แพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์

ที่มาข้อมูล : https://www.industry.go.th/th/industrial-economy/7775