Search
Close this search box.

ส.อ.ท. ย้ำข่าวดี อุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ปี 2567 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ร้อยละ 3.0 อานิสงส์ที่จับต้องได้ของโครงการ EEC

share to:

Facebook
Twitter

ในรายงานแนวโน้มอุตสาหกรรม ปี 2567 (46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 5 ภูมิภาค) ที่จัดทำโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นอกจากจะทำให้ทราบถึงว่าในปี 2567 มีถึง 46 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นมีทั้งหมด 22 กลุ่มอุตสาหกรรม และแนวโน้มอุตสาหกรรม 5 ภูมิภาค โดย อุตสาหกรรมในภาคตะวันออก คาดว่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.0

ส่วนอุตสาหกรรมในภูมิภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คาดว่าจะทรงตัว ในขณะที่ อุตสาหกรรมในภูมิภาคกลาง คาดว่าจะหดตัวลง แต่อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมในแต่ภูมิภาคยังมีทิศทางที่ทรงตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะส่งเสริมอุตสาหกรรมได้แก่

  • ได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว
  • หากไทยสามารถบรรลุความตกลงการค้า FTA ได้ภายในปี 2567 เช่น ไทย-ศรีลังกา,ไทย-EFTA และไทย-UAE รวมถึงการเร่งเจรจา FTA ไทย-EU และไทย-GCC ให้สำเร็จโดยเร็วจะช่วยเพิ่มแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างมาก
  • ความผันผวนของค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราเหมาะสมทั้งผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า
  • แนวโน้มคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC
  • ผู้ประกอบการได้มีการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ถูกลงโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์เพื่อลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้า
  • ทิศทางราคาวัตถุดิบปรับตัวลดลงจากปัญหาขาดแคลนที่คลี่คลาย และมีการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ทดแทน

สำหรับ อุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ที่ ส.อ.ท. ได้เผยผลคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตไว้นั้น พบว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 ปัจจัยหลัก เกิดจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และผลจากการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น

อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

ที่ได้รับผลของมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า EV 3.5 เพื่อกระตุ้นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ประกอบกับค่ายรถยนต์ EV หลายสัญชาติเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์EV ในพื้นที่ EEC เช่น BYD, CHANGAN ฯลฯ ส่งผลให้ไทยมีรถยนต์หลากหลาย สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งยังมีโอกาสในการขยายตลาดส่งออกรถยนต์EV ไปยังตลาดส่งออกเดิมของรถยนต์สันดาปได้

อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมามีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนทั้งผลิตแผงวงจรพิมพ์ (PCB) เช่นจากบริษัทไต้หวัน Gold Circuit Electronics, ITEQ Corporation, และ Taiwan UnionTechnology เป็นต้น รวมถึงบริษัทญี่ปุ่น NTT ที่จะลงทุนสร้างศูนย์ Data Center และบริษัทสหรัฐฯ AWS ที่ประกาศเปิดใช้งาน Cloud Region และยังมีแผนก่อสร้างศูนย์ Data Center ในไทยเพิ่ม

นี่จึงเป็นบทพิสูจน์ว่าไทยมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub), รวมทั้งมีหลายบริษัททั้งในไทยและต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์, และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เป็นต้น

แนวโน้มสดใสนี้ล้วนส่งผลดีต่อนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกให้มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากทั้งนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐให้การส่งเสริม และมีอานิสงส์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนโครงการ EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา)

โดยเฉพาะโครงการพัฒนา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง รถไฟทางคู่ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และ ท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่เป็นการพัฒนาท่าเทียบเรือสำหรับรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
เขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่

อีกทั้ง ยังมีแนวทางการเชื่อมเส้นทางท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึกชุมพรจากโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) กับ EEC พร้อมยกระดับการขนส่งสินค้าทางเรือ นอกจากนี้ยังได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และแนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยปรับตัวดีขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC จากสินค้าไทยเป็นที่ต้องการในระดับนานาชาติ

ขณะเดียวกัน ยังมีการเร่งพัฒนาด่านชายแดนทั้งในจังหวัดสระแก้ว ตราด และจันทบุรีเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศกัมพูชามากขึ้น และหากความผันผวนของค่าเงินบาทอยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราเหมาะสมทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าไทยได้ ท่ามกลางตลาดคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

แต่อย่างไรก็ตาม ภายในพื้นที่ยังมีความต้องการแรงงานทักษะขั้นสูงจำนวนมาก พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปด้วย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น และภาคอุตสาหกรรมยังเผชิญกับต้นทุนการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น ประกอบกับบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีความไม่แน่นอนสูงจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะส่งเสริมอุตสาหกรรมในภูมิภาคได้แก่

  1. การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นผลจากการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของภาครัฐ พร้อมทั้งภาครัฐยังเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3,ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3, และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน เป็นต้น
  2. อุตสาหกรรมในภูมิภาคได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว
  3. สั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC จากสินค้าไทยเป็นที่ต้องการในระดับนานาชาติและหากความผันผวนของค่าเงินบาทอยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราเหมาะสมทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า จะช่วยเพิ่มแต้มต่อให้สินค้าไทยได้
  4. ผู้ประกอบการยังสามารถแข่งขันด้านต้นทุนการผลิตได้จากทิศทางต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มเริ่มลดลงตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้รวมถึงมาตรการพยุงราคาพลังงานเพื่อลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ อีกทั้งเครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/โซลาร์เซลล์มีต้นทุนลดลง ทำให้เกิดการลงทุนในเครื่องจักรและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้า

แต่อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยห่วงกังวลจะกระทบต่ออุตสาหกรรมในภูมิภาค ได้แก่

  1. ผู้ประกอบการยังเผชิญต้นทุนจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงเกินไป รวมถึง ต้นทุนโลจิสติกส์จากราคาน้ำมันและค่าระวางเรือมีทิศทางเพิ่มขึ้น
  2. แม้จะมี FDI ที่เข้ามาลงทุนในไทย แต่ยังคงนำเข้าสินค้า/วัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่เกิดการใช้ Local Content ประกอบกับ บางประเภทธุรกิจยังเกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น พร้อมกับตลาดทั้งในและต่างประเทศเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในสินค้าประเภทเดียวกัน และคู่แข่งเกิดขึ้นในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
  3. ปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-กลุ่มฮามาส ที่ยังยืดเยื้อกระทบต่อราคาพลังงานและการค้าโลกได้ และยังมีปัญหามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) เช่น มาตรการ CBAM ยุโรป เป็นต้น และข้อกำหนด ESG ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดทางการค้าและเป็นต้นทุนการด าเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับข้อเสนอแนะของอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออก เสนอให้ภาครัฐมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปสู่ ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เช่น เครื่องมือแพทย์ สมุนไพร ฯลฯ
โดยภาครัฐสนับสนุนให้โรงงานของภาคเอกชนสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ได้แบบไม่มีอุปสรรคหรือเงื่อนไขที่ซับซ้อน เช่น ผังเมืองทับซ้อนพื้นที่โรงงานเดิม, การพัฒนาคุณภาพ R&D, ช่องทางการตลาด, และสนับสนุนเงินทุนและลดภาษีสำหรับเครื่องจักรใหม่ที่นำมาทดแทนเครื่องจักรเก่า เป็นต้น

ที่มาภาพและข้อมูล / สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.salika.co/2024/01/29/growth-in-east-economic-corridor-2567/