Search
Close this search box.

นาโนเทค สวทช.พัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจการปนเปื้อนของ 4โลหะอันตรายได้ใน 1 นาที

share to:

Facebook
Twitter

นาโนเทค สวทช. พัฒนาเซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนักในน้ำ-สมุนไพร วิเคราะห์การปนเปื้อน “แคดเมียม-ตะกั่ว-ปรอท-สารหนู” ได้ใน 1 นาที และตรวจพร้อมกันได้หลายชนิดโลหะ

ปัญหามลพิษในน้ำ ไม่เพียงส่งผลต่อมนุษย์เราที่ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิต ยังรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนัก ตัวช่วยตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของ 4 โลหะอันตรายอย่าง แคดเมียม, ตะกั่ว, ปรอท และสารหนู ในน้ำและพืชสมุนไพร ตอบโจทย์การใช้งานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก ชูจุดเด่น ตรวจพร้อมกันได้หลายชนิดโลหะ รู้ผลเชิงปริมาณใน 1 นาที ต้นแบบเซ็นเซอร์พร้อมต่อยอดใช้งาน รับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้าน Green Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ดร. วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน นาโนเทค สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัยใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์พัฒนาเป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำและพืชสมุนไพร โดย “เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าตรวจวัดโลหะหนัก” นับเป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์การปนเปื้อนโลหะหนัก ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท สารหนู อาศัยเทคนิคเคมีไฟฟ้า เพื่อวัดสัญญาณเคมีไฟฟ้า ใช้ร่วมกับเครื่องวัดแบบพกพา

ที่มาภาพและข้อมูล อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.hfocus.org/content/2024/04/30223