Search
Close this search box.

สวทช. ต้อนรับคณะมูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง เยี่ยมชมงานวิจัย BCG ในมิติความมั่นคง การแก้ไขปัญหาโลกเดือด

share to:

Facebook
Twitter

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง นำโดย ดร.ก้องเกียรติ สุริเย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมคณะ จำนวน 21 คน ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานวิจัย BCG เกี่ยวกับความมั่นคง การแก้ไขปัญหาโลกเดือด และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมี ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ให้การต้อนรับและนำเสนอภาพรวมการดำเนินงานและภารกิจของสวทช. พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมต้อนรับและนำเสนอผลงานในหัวข้อ ดังนี้

ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช.

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ ด้วยยุทธศาสตร์ BCG โดย ดร.วงศกร พูนพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (RNM) สวทช.

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมถึงการประยุกต์ใช้ และมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีในมิติสิ่งแวดล้อม โดย คุณวันวิศา ฐานังขะโน ผู้ช่วยวิจัยอาวุโ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร.วงศกร พูนพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (RNM) สวทช.

นอกจากนี้คณะฯ เข้าเยี่ยมชม ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand: NBT) โดยมีทีมนักวิจัย นำโดย คุณอนุตตรา ณ ถลาง ดร.นิชชา จำเริญศักดิ์ศรี และ ดร.ปัญญาวุฒิ อัมพุชินทร์ ได้นำคณะเข้าเยี่ยมชมส่วนวิจัยและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวและการใช้ประโยชน์ข้อมูลชีวภาพ ประกอบด้วย งานวิจัยความสำคัญของชีวนิเวศจุลชีพ (microbiome) ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กิจกรรมการอนุรักษ์พืชในรูปแบบเนื้อเยื่อปลอดเชื้อและเมล็ดพันธุ์ (plant tissue culture & seed bank) พร้อมทั้งชมการทำงานของเครื่องจัดเก็บชีววัตถุอัตโนมัติที่อุณหภูมิ -20 และ -80 °C (Automated Sample Storage System) และพิพิธภัณฑ์พืชและเห็ดรา BIOTEC Bangkok Herbarium (BBH)

ก่อนเดินทางกลับคณะฯ ได้เยี่ยมชม ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ณ อาคารแชมเบอร์ 10 เมตร โดยมี ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ PTEC ให้การต้อนรับและนำเสนอภาพรวมการดำเนินงาน PTEC เป็นศูนยฯ เปิดให้บริการทดสอบ สอบเทียบ วิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระบบยานยนต์ และการทดสอบ EMC สำหรับรถทั้งคัน เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมพลังงานรูปแบบใหม่ๆ ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ที่มาภาพและข้อมูล อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.nstda.or.th/home/news_post/asmp-f-visit/