Search
Close this search box.

ปลัด มท. ร่วมนำโค้ชชิ่ง “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ให้ผู้ผลิต-OTOP ภาคเหนือ

share to:

Facebook
Twitter

 

วันนี้ (11 พ.ค. 67) เวลา 14.00 น. ที่โรงแรมน้ำทองน่าน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้าและงานหัตถกรรม (Coaching) ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม จุดดำเนินการที่ 2 จังหวัดน่าน โดยมี นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางอรจิรา ศิริมงคล อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยและประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายธวัช ชุนเคลือบทอง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดน่าน พลตรี คณิศร อาสนะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 พลตำรวจตรี ดเรศ กัลยา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดน่าน นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นางสุภาสินี งามธุระ รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการ ดร.ศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความรู้และสื่อสารการศึกษา นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและผู้เชี่ยวชาญการย้อมสีธรรมชาติ ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและเจ้าของแบรนด์ THEATRE ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกปาน ประธานหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเส้นใยและการย้อมสีธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้เข้าร่วมอบรมจาก 16 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า พวกเราทุกคนคือความหวังของประเทศชาติ ทั้งผู้ที่เป็นข้าราชการ ตลอดจนถึงพี่น้องผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้าและงานหัตถกรรม เพราะทุกคนคือผู้สืบสาน รักษา และต่อยอด สิ่งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ทั้งงานหัตถกรรม งานผ้าประจำถิ่น (ผ้าไทย) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยแห่งความเจริญทางวัตถุ พวกเราสามารถตระหนักได้โดยง่ายว่า บุคคลผู้ที่จะช่วยทำให้มรดกของบรรพบุรุษเรายังคงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของคนไทยตามจังหวัดต่างๆ ยิ่งเหลือน้อยลง เฉกเช่นจังหวัดน่านแห่งนี้ กลิ่นไอของคนน่านก็เริ่มจะเลือนหายไป เพราะเรารับสิ่งต่างๆ ของตะวันตก และทั่วโลก ทั้งการศึกษา การสื่อสาร มารยาท การพูด การแต่งกาย ภาษา เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งกลิ่นไอความเป็นน่านเจือจางลง

ที่มาภาพ/ข้อมูล : อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thairath.co.th/news/local/2784866