Search
Close this search box.

มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ฯ จับมือ สถาบันพลาสติก-บ.ทานตะวัน เดินหน้า Decarbonization ลดคาร์บอน ก้าวสู่ อุตสาหกรรมสีเขียว

share to:

Facebook
Twitter

วันที่ 1 ต.ค. 2566 มาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) จะถูกประกาศใช้อย่างเต็มรูปแบบ เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป สร้างอุตสาหกรรมสีเขียว ป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) และลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันจากผู้ผลิตต่างชาติที่มีมาตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นน้อยกว่าสหภาพยุโรป แน่นอนว่ามาตรการดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนในกระบวนการผลิต

 

นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว ยังมีประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายการเก็บภาษีคาร์บอน (Clean Competition Act: CCA) เพื่อกำหนดราคาคาร์บอนจากสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นที่ผลิตในประเทศและจากการนำเข้า ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2569

ในงาน “พลาสติก แอนด์ รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023 : Plastic & Rubber Thailand 2023” เราได้เห็นผู้ประกอบการไทยเริ่มปรับตัวต่อเรื่องเหล่านี้ โดยมีองค์กรระดับโลกอย่าง “บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ MELFT” เข้ามาช่วยเป็นแกนกลางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่กงล้อแห่งการเปลี่ยนแปลง ตามวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผลักดันและร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ระบบ 4.0 ก้าวข้ามกับดักภาษีคาร์บอน ด้วยทีมงานวิศวกรที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วอย่างดีจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อต้องการสนับสนุนและยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้มีความทันสมัยเป็นระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน รวมถึงลดต้นทุนการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มโอกาสและความสามารถทางการแข่งขันได้ในตลาดโลก ตอบสนองเทรนด์ อุตสาหกรรมสีเขียว และก้าวสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะภายใต้คอนเซ็ปต์ e-F@ctory

ภาพสะท้อนจากงานเสวนาหัวข้อ “วิสัยทัศน์และแอคชั่นเรื่องของ Decarbonization” ระหว่างสถาบันพลาสติก, บริษัท ทานตะวัน จำกัด (มหาชน) และ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ปฤณวัชร ปานสิงห์ ผู้จัดการอาวุโสแผนกการตลาด บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้ฉายภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในฐานะองค์กรระดับโลก บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ฯ ได้ทำเรื่อง ecosystem มาตั้งแต่ปี 2003 ดึงพันธมิตรในห่วงโซ่ธุรกิจมาสร้างสรรค์อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดทำ “บิ๊กดาต้า” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างกระบวนการผลิตให้สะอาด ลดการใช้พลังงาน และเกิดประโยชน์สูงสุด มีการคิดค้นซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า SCADA GENESIS64™ เป็นซอฟต์แวร์วิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถนำเสนอการแสดงภาพจำลองแบบ Real-time ดูกระบวนการปล่อยคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่รายชั่วโมง รายวัน รายเดือน และรายปี เพื่อวางแผนระบบการผลิต ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เกินค่ามาตรฐานกำหนด หรือลดปริมาณการปล่อยให้น้อยที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การได้รับการยกเว้นภาษี การลดภาษี หรือแม้กระทั่งการขายเป็นคาร์บอนเครดิตให้กับโรงงานอื่นๆ ที่ปล่อยคาร์บอนเกินมาตรฐานกำหนด

โดยความเคลื่อนไหวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทในญี่ปุ่นมองเห็นวิกฤตโลกร้อนและเริ่มปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง แต่หลายโรงงานในเมืองไทยยังมองคาร์บอนเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งในอนาคตจะเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า และเราจะโดนผลกระทบถ้าปรับตัวช้า ขณะที่เรื่อง Decarbonization คือการจะสร้างซัพพลายเชนให้เข็มแข็ง ในรูปแบบ ecosystem สร้างเครือข่าย สร้างพันธมิตร ซึ่ง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ฯ ต้องการเริ่มต้นกับกลุ่มพลาสติก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิต เป็นสินค้าอุปโภคที่ผู้บริโภคขาดไม่ได้ หากสามารถสร้าง ecosystem กลุ่ม “กรีนพลาสติก” ได้ นอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีคาร์บอนเมื่อนำสินค้าเข้าไปขายในต่างประเทศแล้ว ยังเกิดพลาสติกชีวภาพที่ทั่วโลกกำลังขาดแคลนอย่างมากอีกด้วย มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ฯ จึงประสานงานกับ สถาบันพลาสติก ประชาสัมพันธ์ให้บริษัทสมาชิกเห็นถึงภัยร้ายของคาร์บอน และมาตรการภาษีคาร์บอนที่เตรียมประกาศใช้ในยุโรป เป็นจังหวะเดียวกับ บริษัท ทานตะวัน จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำลังดำเนินการเรื่องนี้ กำหนดแผนลดการปล่อยคาร์บอนมาแล้วระยะหนึ่ง เห็นถึงโอกาสที่จะได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ฯ เพื่อเป็นต้นแบบให้บริษัทอื่นๆ มองเห็นแนวทางการลดคาร์บอนและนำไปประยุกต์ใช้ จึงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ฯ ทันที

 

ที่มาบทความ/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.salika.co/2023/05/29/mitsubishi-electric-factory-collaboration-decarbonization-trend/