Search
Close this search box.

SME ยุค BCG ไม่เปลี่ยนแปลงเหนื่อยทั้งขึ้นทั้งล่อง

share to:

Facebook
Twitter

การทำธุรกิจยุคโลกร้อน ไม่สามารถแสวงหาผลกำไรที่เป็นเงินเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกันแนวคิดด้านธุรกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนกำลังถูกพูดถึงอย่างมาก ยกเป็นเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG

หนึ่งในหลักการของผู้ประกอบการยุคใหม่คือ การปรับตัวเข้าหา “เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ ‘Circular Economy’ ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่มสูงสุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใหม่ ลดการเกิดขยะและปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ด้วยการเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร และสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน

การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ถือเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ที่มีศักยภาพและสามารถเติบโตได้ดีในอนาคต ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือโจทย์ท้าทายที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME กำลังเผชิญ ทั้งในแง่การเพิ่มยอดขาย หรือการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งมีแนวทางการให้ความส่งเสริมที่แตกต่างจากในอดีต เพราะไม่ได้มองเพียงแค่ตัวธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาไปถึงการคำนึงถึงประโยชน์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ยกตัวอย่างแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) ของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริม SME ของประเทศ ทำหน้าที่เป็น System Integrator ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี (Action Plan) เป็นเครื่องมือ ซึ่งต้องขับเคลื่อนร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงิน ฯลฯ ที่มีภารกิจด้านการส่งเสริม SME ของประเทศรวมกว่า 80 หน่วยงาน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ขณะที่ปัจจุบันประเด็นท้าทายสำคัญของ SME มีตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวโน้มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการประกอบธุรกิจของ SME ทั้งสิ้น ดังนั้นแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME ประจำปี 2568 จึงมุ่งเน้น 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

  1. การส่งเสริม SME ให้ปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation)
  2. การผลักดันให้ SME เปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว (Green Transition )
  3. การสนับสนุน SME เพิ่มมูลค่าและโอกาสให้ธุรกิจด้วย Soft Power

 

โดยนโยบายดังกล่าวขับเคลื่อนภายใต้ 16 กลยุทธ์ ได้แก่
1. พัฒนาธุรกิจระยะเริ่มต้นให้เริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นคง
2. ยกระดับธุรกิจที่มุ่งเติบโตให้มีศักยภาพในการแข่งขัน
3. ยกระดับธุรกิจสู่การแข่งขันระดับโลก
4. ฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหาให้ฟื้นตัว
5. ช่วยเหลือธุรกิจยังชีพให้สามารถอยู่รอดได้
6. สนับสนุนผู้ประกอบการสูงอายุในการดำเนินธุรกิจ
7. ส่งเสริมเกษตรกรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ
8. สร้างส่วนแบ่งตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้น
9. ส่งเสริมการเข้าสู่สากล
10. สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
11. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
12. สร้างความพร้อมของแรงงานและบุคลากร
13. สนับสนุนศูนย์กลางในการให้ข้อมูล องค์ความรู้และบริการ
14. ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ
15. พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบาย
16. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Soft Power ในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาด

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.salika.co/2023/12/01/sme-in-the-bcg-era/