Search
Close this search box.

ใช้ Soft power “อาหารไทย” สร้างจุดเด่นให้ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) คืนรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

share to:

Facebook
Twitter

เมื่อพูดถึง การท่องเที่ยวเชิงอาหาร หรือ Gastronomy Tourism เชื่อว่าหลายคนอาจนึกภาพตรงกันว่าทุกๆ การเดินทางท่องเที่ยว นอกจากการได้ไปเห็นธรรมชาติที่สวยงาม บ้านเมืองที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง การสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ อีกสิ่งที่เราต่างมองหานั่นคือ ของกินอร่อยๆ หรืออาหารพื้นเมืองที่ไม่เคยลิ้มลอง ยิ่งเป็นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย อาหารไทย คือ หนึ่งในจุดเด่น เพราะบ้านเรามีชื่อเสียงด้านอาหารเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะในแต่ละภูมิภาคมีอาหารอร่อยให้เลือกรับประทานมากมายหลายเมนู

โดย การท่องเที่ยวเชิงอาหาร “Gastronomy Tourism” เป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่มาแรงในช่วง 5-10 ปีนี้ จากการเปิดเผยข้อมูลของศูนย์วิจัยบารามีซี่ แล็บ องค์กรช่วยเหลือภาคธุรกิจในการค้นหาไอเดียต่อยอดที่รายงานว่า นักท่องเที่ยวมากถึงร้อยละ 53 เลือกที่เที่ยวจากอาหารและเครื่องดื่มที่อยากไปลองชิม
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร

และแม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การท่องเที่ยวลักษณะนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมเสมอมา ประกอบกับนักท่องเที่ยวยุคใหม่ให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครไปถึง (Off the Beaten Path) ในขณะเดียวกันก็เสาะแสวงหาอาหารท้องถิ่นที่มีความแปลกใหม่ รสชาติแตกต่างแต่ละพื้นที่ ทั้งยังชอบเสพเรื่องราว (Story) และค้นหาความสามารถของตัวเองผ่านการเรียนรู้ร่วมกับคนในท้องถิ่น รวมถึงร่วมสนับสนุนสินค้าชุมชนโดยตรง
นอกจากนั้น Gastronomy Tourism ยังสอดรับการแนวคิด Creative Tourism (การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์) ที่ให้ภูมิชุมชน ภูมิปัญญา วัฒนธรรม วิถีชีวิตท้องถิ่น มาสร้างสรรค์คุณค่า ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาสร้างความผูกพันกับชุมชน เรียนรู้วัฒนธรรมอาหารอย่างลึกซึ้ง การได้กินอาหารตามวิถีถิ่นนับเป็นเสน่ห์ของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่นิยมแชร์ประสบการณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย “วิถีเข้าใจกิน เข้าใจถิ่น” จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

แนะนำเสาหลักของ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ที่ควรนำไปใช้เพื่อสร้างสตอรี่ให้อาหารในชุมชน
ด้วยเหตุนี้ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร จึงมีคุณค่ามากกว่าแค่การท่องเที่ยวที่พาไปดื่มกินอาหารเด็ดเมนูดังตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ยังครอบคลุมไปถึงการประกอบอาชีพของคนในชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, เยี่ยมชมแหล่งผลิตแบบพื้นถิ่น ไปจนถึงขั้นหลังการบริโภค เช่น การผลิตสินค้าที่ระลึกเพิ่มมูลค่า หรือแม้แต่การจัดการเศษอาหารเหลือทิ้ง

อ่านทั้งหมดต่อได้ที่ : https://www.salika.co/2023/11/22/soft-power-gastronomy-tourism/