Search
Close this search box.

สาขาเครื่องมือแพทย์: ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย

share to:

Facebook
Twitter

ผลงานเด่น : แผนงานยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี 2565
สาขาเครื่องมือแพทย์
“โครงการการยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย”

“ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)” คือหนึ่งในเป้าหมายของภาครัฐที่ในการขับเคลื่อนและพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การระแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเครื่องมือแพทย์ไทยสูงถึง 98,000 ล้านบาท แต่มูลค่าการนำเข้าโดยเฉพาะกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์และชุดตรวจวินิจฉัยจากต่างประเทศก็เพิ่มด้วยกว่า 2 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่าราว 55,000 ล้านบาททั้งที่ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทยสามารถผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับเดียวกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ถึงแม้ว่าปัจจุบันมี “บัญชีนวัตกรรมไทย” แต่มูลค่าที่เกิดขึ้นการจัดซื้อ-จัดจ้างเครื่องมือแพทย์จากบัญชีนวัตกรรมไทยดังกล่าว คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.5 จากงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือแพทย์ของภาครัฐเท่านั้น ดังนั้นการยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยให้ได้มาตรฐานสากล สนับสนุนการทดลองใช้ สร้างความเชื่อมั่น จนสามารถนำเข้าสู่ตลาดภาครัฐ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน

โครงการนี้ประกอบด้วยงาน 2 ส่วน คือ 1) ยกการผลิตและมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ไทย จากผู้ประกอบการไทยเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความพร้อมสำหรับการยื่นขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยและเข้าสู่ตลาด และ 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลติดตามการจัดซื้อ-จัดจ้าง เครื่องมือแพทย์ เพื่อติดตามและวิเคราะห์ความต้องการเครื่องมือแพทย์ของหน่วยงานภาครัฐ

ผลการดำเนินงาน :

1. ให้คำปรึกษาแก่บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ไทยเพื่อยกระดับการผลิตและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เตียงและที่นอนอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย ชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง และแผ่นแปะปิดแผลที่เคลือบด้วยสมุนไพร พร้อมวิเคราะห์ทดสอบมาตรฐาน
2. ได้ระบบฐานข้อมูลการจัดซื้อ-จัดจ้าง เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมต่อกับระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement System: e-GP) ประกอบด้วย ระบบฐานข้อมูลเครื่องมือแพทย์ไทย 171 รายการ ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ขึ้นบัญชีนวัตรกรรมไทยแล้ว 51 รายการ และระบบติดตามผลการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย
3. ส่งเสริมเครื่องมือแพทย์ไทยเข้าสู่ตลาด ผ่านการประชาสัมพันธ์การจัดแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ไทย (Road show) การจัดสัมมนา การจัดทำ e-Catalog สินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย ครุภัณฑ์ 23 รายการ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา 16 รายการ และการผลักดันเชิงนโยบายร่วมกับกองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข