Search
Close this search box.

เดินหน้าพัฒนา 2 เมืองใหม่ใน EEC สร้างงานประชาชน เสริมรายได้ประเทศ

share to:

Facebook
Twitter

ความเข้าใจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ของหลายคนมักนึกถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และโครงสร้างพื้นฐานหลัก รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (ระยะที่3) โครงการท่าเรือแหลมฉบัง(ระยะที่3)

แต่ใน EEC ยังมีโครงการใหญ่ที่สำคัญอีก 2 โครงการ คือ เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) และ เมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเมืองใหม่ 2 เมืองนี้ ทางรัฐบาลผลักดันต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ 7 สมาร์ท 5 โซน

เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. 14,619 ไร่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 15 กม. จะเป็นเมืองที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาเมือง และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

การใช้ประโยชน์พื้นที่ การพัฒนาระยะแรกประมาณ 5,000 ไร่ นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยแล้ว ยังแบ่งออกไปอีก 5 โซน คือ

1.ศูนย์กลางการเงิน ประกอบด้วยหน่วยธุรกิจการเงินและตลาดทุน หน่วยสนับสนุนการลงทุน

2.สำนักงานภูมิภาค RHQ/ศูนย์ราชการ เช่น สำนักงานภูมิภาคของธุรกิจไทย ที่มีธุรกิจในอีอีซีและสถานที่ราชการที่สำคัญ

3.การแพทย์แม่นยำ การแพทย์เพื่ออนาคต เป็นที่ตั้งของธุรกิจโรงพยาบาลชั้นนำของโลก ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย

4.การศึกษา วิจัยและพัฒนา เป็นพื้นที่สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสนับสนุนธุรกิจเฉพาะด้าน

5.การวิจัยพัฒนาเพื่อธุรกิจเฉพาะด้าน เช่น พลังงานสะอาด ธุรกิจ5G กลุ่มโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์การกีฬา

อัจฉริยะ 7 ด้าน เป็นการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ

1.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ

2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) จะเป็นเมืองที่มุ่งเน้นความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง เน้นใช้งานยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ รถรางไฟฟ้าสาธารณะ

3.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม

4.พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) จะมุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต

5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาด เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

6.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจ

7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน

ที่มา/อ่านต่อที่นี่