Search
Close this search box.

สำนักนายกรัฐมนตรีนำ “เยาวชนนานาชาติเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานตามรอยพระยุคลบาท” ที่จังหวัดราชบุรี ภายใต้แนวคิด BCG Model

share to:

Facebook
Twitter

สำนักนายกรัฐมนตรีนำ“เยาวชนนานาชาติเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานตามรอยพระยุคลบาท” สร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริในระดับภูมิภาคที่จังหวัดราชบุรีภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจ สีเขียว BCG Model

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 สำนักนายกรัฐมนตรีนำเยาวชนไทยและเยาวชนต่างชาติ จำนวน 36 คน“เดินทางมาศึกษาดูการดำเนินงานของบริษัท อะโรแมติก ฟาร์ม จำกัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจ สีเขียว BCG Model โดยมีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้ มีการอภิปราย เรื่อง การน้อมนำ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาผสมผสานแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โครงการ “พอแล้วดี The Creator” และแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “เรียนรู้มุมมองการผสมผสานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในธุรกิจประเภทต่าง ๆ

ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาต่อยอดในโครงการ “เยาวชนนานาชาติเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสืบสานตามรอยพระยุคลบาท” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของการพัฒนาระดับนานาชาติ โดยองค์การสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2566 โดยเดินทางไปศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภาคตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการเรียนรู้ ประกอบด้วย การรับฟังการบรรยายทางวิชาการและการปฏิบัติฐานกิจกรรมกลุ่ม ณ ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา 904 (บางเขน) กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ โครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง รวมถึงสวนมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ บริษัท อะโรแมติก ฟาร์ม จำกัด จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่เยาวชนของประเทศที่เข้าร่วมโครงการจะได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวความคิด ประสบการณ์ และศิลปวัฒนธรรมระหว่างกัน ก่อให้เกิดความผูกพันและมิตรภาพที่แน่นแฟ้น นำมาซึ่งความเข้าใจและสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศอาเซียนและนานาประเทศต่อไป

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230602154612549