Search
Close this search box.

UBE Group เปิดบ้านต้อนรับ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เยี่ยมชมการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืน ตามแนวคิด BCG Model

share to:

Facebook
Twitter

นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายนคร ศิริปริญญานันท์ ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี นายสุริยา บุตรจินดา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี และนายศิลปชัย ประเสริฐศรี นายอำเภอนาเยีย เข้าเยี่ยมชมการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืน ตามแนวคิด BCG Model ณ สำนักงานเอทานอล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี น.ส.สุรียส โควสุรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล (UBE) พร้อมด้วยผู้บริหาร ร่วมต้อนรับ

บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE (บริษัทฯ) และบริษัทในเครือ ประกอบด้วยบริษัท อุบลชันฟลาวเวอร์ จำกัด (UBS) และ บริษัท อุบลไบโอเกษตร จำกัด (UBA) เป็นผู้ผลิต และแปรรูปมันสำปะหลังแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่

  1. ธุรกิจเอทานอล
  2. ธุรกิจแป้งมันสำะหลังออร์แกนิค
  3. ธุรกิจเกษตรอินทรีย์อื่นๆ และผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าให้กับผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นนโยบายการบริหารธุรกิจด้วยความยั่งยืน ตามแนวคิด BCG Model และความรับผิดชอบต่อสังคมครบทุกมิติได้แก่ ด้านเส้งคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้าน การกำกับกิจการที่ดีในการดำเนินธุรกิจ หรือ ESG (Environment Social Governance)

BCG มี 3 องค์ประกอบสำคัญ

B = Bioeconomy คือ การนำทรัพยากรชีวภาพมา “ผลิตให้คุ้มค่าที่สุด” โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย

C = Circular economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมีแนวทางคือ “การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด” ของที่ใช้ในการผลิตต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

G = Green economy เป็นระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมรวมถึงการจัดการสภาพสังคมให้ “กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

หลักปฏิบัติ ESG หากต้องการดำเนินการได้ตามเป้าหมาย BCG Model ต้องอาศัยการทำธุรกิจที่ประณีตมีสิทธิภาพตามหลัก ESG Model

E = Environment ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม

S = Social สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้ชุมชนและสังคม

G = Governace มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและบริหารงานอย่างซื่อสัตย์โปร่งใส

จัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้งห่วงโซ่การทำธุรกิจ

เปลี่ยนความกดดันและความผันผวน ให้เป็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ โดยสรุปคือการนำหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐาน และตั้งใจการทำธุรกิจที่ประณีตมีสิทธิภาพตามหลักปฏิบัติ ESG ในทุกขั้นตอน และสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนของประเทศไทย BCG Model ทำให้ธุรกิจมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ช่วยเพิ่มศักกยภาพในการแข่งขัน และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว อีกทั้งช่วยตอบโจทย์เป้าหมายเป้าหมายความยั่งยืนของโลก SDGs ทั้งหมดนี้จะสร้างความสมดุลให้ “เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

 

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230124193753136