Tag: ผลงานเด่น

สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ: การสร้างโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนอัจฉริยะ Smart MicroGrid

โครงข่ายไฟฟ้าชุมชนอัจฉริยะ (Smart Microgrid) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อชุมชนจากการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับพื้นที่การเกษตร (Agrivoltaics หรือ Solar sharing)

อ่านต่อ

สาขาเครื่องมือแพทย์: ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย

“ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)” คือหนึ่งในเป้าหมายของภาครัฐที่ในการขับเคลื่อนและพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดยผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทยสามารถผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับเดียวกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ

อ่านต่อ
ยาและวัคซีน

สาขายาและวัคซีน: การผลิตยาต้านไวรัส

โครงการผลิตยาต้านไวรัสเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาตั้งแต่การค้นหายาที่มีการใช้งานอยู่เดิม ไปจนถึงการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม

อ่านต่อ

สาขาอาหาร : โครงการการขยายผลโครงการ Green Industry (GI) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร (น้ำ พลังงาน) ลดการปลดปล่อยของเสีย ลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต ฯลฯ

อ่านต่อ

สาขาอาหาร: แพลตฟอร์มการผลิตอาหารฟังก์ชั่นและ Functional ingredients ในระดับอุตสาหกรรม

ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมการผลิตอาหารฟังก์ชั่น ทั้งอาหารสุขภาพ อาหารเฉพาะกลุ่ม และกลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional Ingredient)

อ่านต่อ

สาขาเกษตร: ยกระดับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านและ Young smart farmers

โครงการมุ่งเน้นยกระดับเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้มีทักษะและความรู้ด้านเกษตรสมัยใหม่ เน้นการทำเกษตรแบบประณีต ทำน้อยแต่ได้มาก ผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพสูง มีตลาดชัดเจน สามารถปรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม

อ่านต่อ

สาขาเกษตร: โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-NAGA Belt Road)

ข้าวเหนียวเป็นสินทรัพย์ทางชีวภาพและทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง การปลูกข้าวเหนียวในประเทศไทยเน้นเพื่อการบริโภค ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจะนำไปจำหน่าย

อ่านต่อ

สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ : โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจากความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน

“ระบบนิเวศชายฝั่ง” ซึ่งเป็นแหล่ง“อู่ข้าวอู่น้ำ”สร้างรายได้ให้กับชุมชนประมงพื้นบ้าน และเชื่อมโยงกับความสมบูรณ์ของแนวปะการังและหญ้าทะเล ถูกบุกรุกทำลายอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อใช้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งให้คงความอุดมสมบูรณ์จึงสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน

อ่านต่อ